วิธีการใช้อุปกรณ์สำหรับการชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด

เรากำหนดให้มีการพิจารณาจาก randomised controlled trials ถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยของวิธีการใช้อุปกรณ์สำหรับชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ (> 24 สัปดาห์์) การใช้บอลลูนเพื่อขยายปากมดลูก (ปลายด้านล่างของมดลูก) ถูกเปรียบเทียบกับ prostaglandin E2 (PGE2), misoprostol ขนาดต่ำหรือ oxytocin

เรื่องนี้มีปัญหาอย่างไร

โดยทั่วไปการชักนำจะดำเนินการเมื่อความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ต่อไปมีมากกว่าประโยชน์ หรือตามคำขอของสตรีตั้งครรภ์

การใช้อุปกรณ์สำหรับการชักนำส่งเสริมการสุกของปากมดลูกและการเจ็บครรภ์โดยการยืดปากมดลูก อุปกรณ์เหล่านี้เป็น่วิธีที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้ในการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ยาเช่น PGE2, misoprostol และ oxytocin มีการแทนทีบ่างส่วนของวิธีการใช้อุปกรณ์

ทำไมเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ

มีสตรีมากขึ้นที่มีการชักนำให้เจ็บครรภ์และข้อบ่งชี้มักจะไม่เร่งด่วน ซึ่งหมายความว่า ความปลอดภัยของวิธีการชักนำกลายเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้น แม้ว่าเรื่องนี้อาจจะมีผลต่อประสิทธิผล วิธีการใช้อุปกรณ์อาจมีข้อได้เปรียบมากกว่าวิธีการทางเภสัชวิทยาที่อุปกรณ์ดังกล่าวมีอยู่อย่างแพร่หลาย มีค่าใช้จ่ายต่ำและอาจมีผลข้างเคียงน้อยกว่า เช่นการหดตัวมากเกินไปของมดลูก (uterine hyperstimulation) วิธีการนี้อาจจะปลอดภัยกว่าสำหรับทารกเพราะถ้าการหดตัวนานหรือถี่เกินไป ทารกอาจไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ

เราพบหลักฐานอะไร

สำหรับการทบทวนนี้ เรารวบรวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมทั้งหมด 112 ฉบับ ซึ่งมีสตรี 22,055 คนซึ่งถูกกำหนดให้เริ่มการเจ็บครรภ์ด้วยข้อบ่งชี้ที่แตกต่างกัน ข้อมูลสนับสนุนการเปรียบเทียบที่แตกต่างกัน 21 ฉบับ คุณภาพของงานวิจัยอยู่ในระดับต่ำมากถึงปานกลาง (very low to moderate quality) สำหรับการเปรียบเทียบจำนวนมาก มีสตรีในการทดลองน้อยเกินไปที่จะตรวจสอบความแตกต่างที่ชัดเจนในการเจ็บป่วยร้ายแรงสำหรับมารดาและทารก

การทดลอง 28 ฉบับ (สตรี 6619 คน) แสดงให้เห็นว่าการชักนำด้วยบอลลูนมีประสิทธิภาพเหมือนการใช้ PGE2 ทางช่องคลอด อาจจะมีความแตกต่างเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่างในการคลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมงและอาจจะมีความแตกต่างเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่างในการผ่าตัดคลอด ระหว่างกลุ่ม อย่างไรก็ตาม บอลลูนจะมีความปลอดภัยมากกว่าสำหรับทารก เพราะอาจจะช่วยลดความเสี่ยงของการที่มดลูกจะหดรัดตัวมากเกินไป ที่ทำให้อัตราการเต้นหัวใจของทารกผิดปกติ การเจ็บป่วยอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตของทารก และอาจลดความเสี่ยงสำหรับการเข้ารับการดูแลในหน่วยทารกแรกเกิดวิกฤติลงเล็กน้อย มีความไม่ชัดเจนว่ามีความแตกต่างในการเจ็บป่วยร้ายแรงหรือความตายของแม่หรือคะแนน Apgar ของทารกที่ 5 นาทีน้อยกว่า 7

การทดลอง 13 ฉบับ (สตรี 1818 คน) เปรียบเทียบการชักนำให้เจ็บครรภ์โดยบอลลูนกับการใช้ misoprostol ทางช่องคลอดแสดงให้เห็นว่าบอลลูนอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกบีบรัดตัวมากผิดปกติและมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติของทารก แต่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอด ไม่มีความชัดเจนว่า มีความแตกต่างกันในการคลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมง, การเจ็บป่วยร้ายแรงหรือเสียชีวิตของทารก, การเจ็บป่วยร้ายแรงหรือเสียชีวิตของแม่, คะแนน Apgar ที่ 5 นาที น้อยกว่าเจ็ดหรือทารกแรกเกิดเข้ารับการดูใน NICU

การทดลอง 7 ฉบับ(สตรี 3178 คน) แสดงให้เห็นว่าบอลลูนอาจจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า misoprostol แบบรับประทาน เพราะบอลลูนอาจเพิ่มความเสี่ยงของการคลอดทางช่องคลอดไม่สำเร็จภายใน 24 ชั่วโมง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดเล็กน้อย ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยยังคงไม่ชัดเจน เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนว่าจะมีความแตกต่างในการบีบรัดตัวของมดลูกมากผิดปกติที่มีอัตราการเต้นหัวใจผิดปกติของทารก การเจ็บป่วยร้ายแรงหรือเสียชีวิตของทารก การเจ็บป่วยร้ายแรงหรือเสียชีวิตของแม่, คะแนน Apgar ที่ 5 นาทีน้อยกว่าเจ็ดหรือ การต้องเข้ารักษาใน NICU

หลักฐานนี้หมายความว่าอย่างไร

การชักนำด้วยบอลลูนอาจจะมีประสิทธิผลเช่นเดียวกับการชักนำการคลอดด้วย PGE2 ทางช่องคลอด อย่างไรก็ตาม บอลลูนดูเหมือนจะมีความปลอดภัยที่ดีกว่าสำหรับทารก การวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปรียบเทียบนี้ดูเหมือนจะไม่จำเป็น

บอลลูนสายสวนอาจจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า misoprostol แบบรับประทานเล็กน้อย แต่ยังคงไม่ชัดเจนว่ามีความแตกต่างในผลลัพธ์ที่ปลอดภัยสำหรับทารก เมื่อเทียบกับ misoprostol ขนาดต่ำทางช่องคลอด สายสวนบอลลูนอาจมีประสิทธิภาพน้อย แต่อาจจะมีความปลอดภัยที่ดีกว่าสำหรับทารก

การวิจัยในอนาคตอาจมุ่งเน้นไปที่ด้านความปลอดภัยสำหรับทารกและความพึงพอใจของมารดา

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

หลักฐานระดับต่ำถึงปานกลางแสดงว่าการชักนำด้วยบอลลูนอาจจะมีประสิทธิผลเช่นเดียวกับการชักนำการคลอดด้วย PGE2 ทางช่องคลอด อย่างไรก็ตาม บอลลูนดูเหมือนจะมีความปลอดภัยที่ดีกว่า การวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปรียบเทียบนี้ดูเหมือนจะไม่จำเป็น

หลักฐานระดับปานกลางแสดงว่าบอลลูนสายสวนอาจจะมีประสิทธิผลน้อยกว่า misoprostol แบบรับประทานเล็กน้อย แต่ยังคงไม่ชัดเจนว่ามีความแตกต่างในผลลัพธ์เรื่องความปลอดภัยสำหรับทารก เมื่อเทียบกับ misoprostol ขนาดต่ำ หลักฐานระดับต่ำแสดงว่าสายสวนบอลลูนอาจมีประสิทธิผลน้อยกว่า แต่อาจจะดีกว่าในเรื่องความปลอดภัย

การวิจัยในอนาคตอาจมุ่งเน้นไปที่ด้านความปลอดภัยสำหรับทารกแรกเกิดและความพึงพอใจของมารดา

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

วิธีการใช้อุปกรณ์เป็นวิธีการแรกที่พัฒนาขึ้นเพื่อทำให้ปากมดลูกสุกและชักนำให้เจ็บครรภ์ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีการทดแทนโดยวิธีการทางเภสัชวิทยา ข้อได้เปรียบที่อาจเกิดขึ้นจากวิธีการใช้อุปกรณ์เมื่อเทียบกับวิธีการทางเภสัชวิทยาอาจรวมถึงการลดผลข้างเคียงที่อาจทำให้ผลลัพธ์ของทารกดีขึ้น นี่คือการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมที่เผยแพร่ครั้งแรกในปี 2001 และปรับปรุงในปี 2012

วัตถุประสงค์: 

เพื่อตรวจสอบประสิทธิผลและความปลอดภัยของวิธีการใช้อุปกรณ์สำหรับการชักนำให้เจ็บครรภ์ในไตรมาสที่ 3 (ตั้งครรภ์ > 24 สัปดาห์) เปรียบเทียบกับ prostaglandin E2 (PGE2) (สอดช่องคลอดและ ใส่ในปากมดลูก), ยา misoprostol ปริมาณต่ำ (รับประทานและสอดช่องคลอด) amniotomy หรือ oxytocin

วิธีการสืบค้น: 

ในการปรับปรุงนี้เราสืบค้น Cochrane Pregnancy and Childbirth’s Trials Register, ClinicalTrials.gov และ WHO International Clinical Trials Registry Platform ( ICTRP ) และเอกสารอ้างอิงของการศึกษาที่สืบค้นมาได้ (9 มกราคม 2018) เราได้ปรับปรุงการสืบค้นหลักฐานงานวิจัยในเดือน มีนาคม 2019 และเพิ่มผลที่ได้เพิ่มเติมไว้ในส่วนรอการจัดกลุ่ม (awaiting classification section) ของการทบทวนวรรณกรรมนี้

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การทดลองทางคลินิกเปรียบเทียบวิธีการใช้อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการทำให้ปากมดลูกสุกหรือการชักนำการคลอดกับวิธีการทางเภสัชวิทยา

วิธีการใช้อุปกรณ์ ประกอบด้วย: (1) การใส่สายสวนสอดผ่านปากมดลูกเข้าไปใน extra-amniotic space และทำให้บอลลูนโป่ง; (2) การนำ laminaria tent หรือสารสังเคราะห์เทียบเท่า (Dilapan) เข้าไปในปากมดลูก; (3) การใช้สายสวนเพื่อฉีดของเหลวเข้าไปใน extra-amniotic space (EASI)

การทบทวนวรรณกรรมนี้รวมถึงการเปรียบเทียบต่อไปนี้: (1) วิธีการใช้อุปกรณ์เฉพาะ (บอลลูนสายสวน, laminaria tent หรือ EASI) เปรียบเทียบกับ prostaglandins (ชนิดที่แตกต่างกันวิธีการให้ที่แตกต่างกัน) หรือกับ oxytocin; (2) บอลลูนเดี่ยวเปรียบเทียบกับบอลลูนคู่; (3) การเพิ่ม prostaglandins หรือ oxytocin ร่วมกับวิธีการใช้อุปกรณ์เปรียบเทียบกับ prostaglandins หรือ oxytocin เพียงอย่างเดียว

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ประพันธ์การทบทวนวรรณกรรม 2 คนประเมินการศึกษาเพื่อนำเข้ามาทบทวนและประเมินคุณภาพอย่างอิสระต่อกัน ผู้ประพันธ์การทบทวนวรรณกรรมทั้ง 2 คน ดึงข้อมูลและประเมินคุณภาพของหลักฐานโดยใช้ GRADE อย่างเป็นอิสระ

ผลการวิจัย: 

การทบทวนวรรณกรรมนี้รวมการทดลองทั้งหมด 112 ฉบับโดยมีการศึกษา 104 ฉบับมีข้อมูล (สตรี 22,055 คน; การเปรียบเทียบ 21 ฉบับ) ความเสี่ยงของอคติของการทดลองมีความแตกต่างกัน ในภาพรวม คุณภาพของงานวิจัยอยู่ในระดับต่ำมากถึงปานกลาง (very low to moderate quality) หลักฐานทั้งหมดถูกลดระดับเนื่องจากขาดการปกปิด สำหรับการเปรียบเทียบจำนวนมาก ผลการประเมินไม่แม่นยำมากเกินไปที่จะทำให้การตัดสินถูกต้อง

บอลลูนเทียบกับ vaginal PGE2: อาจมีความแตกต่างน้อยหรือไม่มีความแตกต่างใน การคลอดทางช่องคลอดไม่ได้ภายใน 24 ชั่วโมง (risk ratio (RR) 1.01 ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 95% 0.82 ถึง 1.26; การศึกษา 7 ฉบับ สตรี 1685 คน; หลักฐานคุณภาพต่ำ) และอาจจะมีความแตกต่างน้อยหรือไม่มีความแตกต่างใน การผ่าตัดคลอด (RR 1.00, 95% CI 0.92 ถึง 1.09; การศึกษา 28 ฉบับ; สตรี 6619 คน; หลักฐานคุณภาพปานกลาง) ระหว่างการชักนำการเจ็บครรภ์คลอกด้วย บอลลูนสายสวนและ vaginal PGE2 สายสวนบอลลูนอาจช่วยลดความเสี่ยงของมดลูกหดรัดตัวมากเกินไป พร้อมกับอัตราการเต้นหัวใจของทารกในครรภ์ (hyperstimulation with fetal heart rate; FHR) มีการเปลี่ยนแปลง (RR 0.35, 95% CI 0.18 ถึง 0.67; การศึกษา 6 ฉบับ; สตรี 1966 คน; หลักฐานคุณภาพระดับปานกลาง), ทารกแรกเกิดเจ็บป่วยรุนแรงหรือการตายปริกำเนิด (RR 0.48, 95% CI 0.25 ถึง 0.93; การศึกษา 8 ฉบับ; สตรี 2757 คน; หลักฐานคุณภาพปานกลาง) และอาจลดความเสี่ยงของ การเข้ารับการรักษาใน NICU เล็กน้อย (RR 0.82, 95% CI 0.65 ถึง 1.04 สตรี 3647 คน; การศึกษา 12 ฉบับ หลักฐานมีคุณภาพต่ำ) มีความไม่เชื่อมั่นว่ามีความแตกต่างใน มารดาเจ็บป่วยรุนแรงหรือตาย (RR 0.20, 95% CI 0.01 ถึง 4.12; การศึกษา 4 ฉบับ; สตรี 1481 คน) หรือ ีคะแนน Apgar ที่ 5 นาที < 7 (RR 0.74, 95% CI 0.49 ถึง 1.14; สตรี 4271 คน; การศึกษา 14 ฉบับ) เพราะคุณภาพของหลักฐานที่พบว่ามีต่ำมากและต่ำตามลำดับ

บอลลูนเปรียบเทียบกับ misoprostol ขนาดต่ำทางช่องคลอด: มีความไม่เชื่อมั่นว่าจะมีความแตกต่างใน การคลอดทางช่องคลอดไม่ประสบความสำเร็จภายใน 24 ชั่วโมง ระหว่างการชักนำการคลอดด้วยสายสวนบอลลูนและ misoprostol (RR 1.09, 95% CI 0.85 ถึง 1.39; สตรี 340 คน; การศึกษา 2 ฉบับ; หลักฐานคุณภาพระดับต่ำ) สายสวนบอลลูนอาจลดความเสี่ยงของ การกระตุ้นมดลูกมากเกินไปและการเปลี่ยนแปลง FHR (RR 0.39, 95% CI 0.18 ถึง 0.85; สตรี 1322 คน; การศึกษา 8 ฉบับ; หลักฐานคุณภาพปานกลาง) แต่อาจเพิ่มความเสี่ยงของ การผ่าตัดคลอด (RR 1.28, 95% CI 1.02 ถึง 1.60; สตรี 1756 คน การศึกษา 12 ฉบับ; หลักฐานคุณภาพต่ำ) มีความไม่เชื่อมั่นว่าจะมีความแตกต่างใน การเจ็บป่วยรุนแรงของทารกแรกเกิด หรือการตายปริกำเนิด (RR 0.58, 95% CI 0.12 ถึง 2.66; สตรี 381 คน; 3 การศึกษา), มารดาเจ็บป่วยร้ายแรงหรือตาย (ไม่มีเหตุการณ์; การศึกษา 4 ฉบับ; สตรี 464 คน), ทั้งสองมีหลักฐานคุณภาพต่ำมาก, และ คะแนน Apgar ที่ 5 นาที < 7 (RR 1.00, 95%CI 0.50 ถึง 1.97; สตรี 941 คน; การศึกษา 7 ฉบับ) และ การเข้ารักษาใน NICU (RR 1.00 95% CI 0.61 ถึง 1.63; สตรี 1302 คน; การศึกษา 9 ฉบับ) ทั้งสองมีหลักฐานคุณภาพต่ำ

บอลลูนเทียบกับ misoprostol แบบรัปประทานในปริมาณต่ำ: สายสวนบอลลูนอาจเพิ่มความเสี่ยงของ การคลอดทางช่องคลอดไม่ได้ภายใน 24 ชั่วโมง (RR 1.28, 95% CI 1.13 ถึง 1.46; สตรี 782 คน, การศึกษา 2 ฉบับ และอาจเพิ่มความเสี่ยงของ การผ่าตัดคลอด (RR 1.17, 95% CI 1.04 ถึง 1.32; สตรี 3178 คน; การศึกษา 7 ฉบับ; หลักฐานคุณภาพปานกลาง) เมื่อเทียบกับ misoprostol มีความไม่เชื่อมั่นว่าจะมีความแตกต่างใน การมีภาวะมดลูกหดรัดตัวมากผิดปกติร่วมกับ การเปลี่ยนแปลงใน FHR (RR 0.81, 95% CI 0.48 ถึง 1.38; สตรี 2033 คน; การศึกษา 2 ฉบับ) ทารกแรกเกิดเจ็บป่วยรุนแรงหรือตายปริกำเนิด (RR 1.11, 95% CI 0.60 ถึง 2.06; สตรี 2627 คน; การศึกษา 3 ฉบับ), ทั้งสองมีหลักฐานคุณภาพต่ำ มารดาเจ็บป่วยร้ายแรงหรือตาย (RR 0.50, 95% CI 0.05 ถึง 5.52; สตรี 2627 คน; การศึกษา 3 ฉบับ) หลักฐานคุณภาพต่ำมาก, และ คะแนน Apgar ที่ 5 นาที < 7 (RR 0.71, 95% CI 0.38 ถึง 1.32; สตรี 2693 คน; การศึกษา 4 ฉบับ) และ การเข้ารับการรักษาใน NICU (RR 0.82, 95% CI 0.58 ถึง 1.17; สตรี 2873 คน; การศึกษา 5 ฉบับ) ทั้งสองมีหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำ

บันทึกการแปล: 

แปลโดย ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 11 เมษายน 2023

Tools
Information