สารกระตุ้นน้ำนม (galactagogues) สำหรับมารดาที่ให้นมบุตรกรณีที่ทารกมีสุขภาพดีที่คลอดครบกำหนด

ประเด็นในวิจัยนี้คืออะไร

เรากำหนดเพื่อวัดความสามารถของสารกระตุ้นน้ำนมชนิดรับประทาน (ยา, ยาสมุนไพรหรืออาหาร) เพื่อเพิ่มการผลิตน้ำนมในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกที่มีสุขภาพดีที่คลอดครบกำหนด การให้นมที่ไม่เพียงพอ มักจะเป็นสาเหตุของการให้สารอาหารเฉพาะช่วงแรกและการหย่านมเร็วกว่าที่ต้องการ ปัจจัยหลายประการ รวมถึงสุขภาพของแม่และทารก, ทักษะการดูดของทารก, การดูดนมที่เหมาะสมและความถี่ในการให้นมอาจส่งผลต่อการผลิตน้ำนม ก่อนการทดลองทุกครั้งเพื่อระบุและแก้ไขสาเหตุของการผลิตน้ำนมที่น้อยก่อนที่จะลองใช้สารกระตุ้นน้ำนม

เหตุใดสิ่งนี้จึงสำคัญ

การผลิตน้ำนมที่ไม่เพียงพอ อาจทำให้คุณแม่มีความเครียดและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารก ทางเลือกของกระตุ้นน้ำนมมักได้รับอิทธิพลจากความคุ้นเคยหรือประเพณีท้องถิ่น คุณแม่บางคนอาจชอบใช้ยา ในขณะที่บางคนชอบแนวทางธรรมชาติ หลักฐานสำหรับประโยชน์ที่เป็นไปได้และอันตรายจากสารกระตุ้นน้ำนมเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยคุณแม่ในการประกอบการตัดสินใจ

เราพบหลักฐานอะไรบ้าง

เราค้นหาหลักฐานจากการศึกษาแบบ RCTs จนถึง 4 พฤศจิกายน 2019 และสามารถระบุการศึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมได้ 41 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับมารดา 3005 คนและทารก 3006 คนจากอย่างน้อย 17 ประเทศ การศึกษาได้ศึกษาในทารกที่มีอายุที่ค่อนข้างหลากหลาย ประเภทของสารกระตุ้นน้ำนม ระยะเวลาที่ได้รับสารกระตุ้นและวิธีการรายงานผล ยาทั้ง sulpiride, metoclopramide, domperidone และ thyrotropin-releasing hormone การรักษาตามธรรมชาติ โดยการใช้ หัวปลี, ยี่หร่า, ลูกซัด, ขิง, มะตูม, ฝ้ายขน, มะรุม, อินทผาลัม, ขาหมู, ผักชีช้าง, ซิลิมาริน, ใบทอบันกัน และส่วนผสมหลากหลายที่ได้จากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นเป็นชาหรือซุป

ยาที่ช่วยกระตุ้นน้ำนม

การศึกษา 9 ฉบับที่เปรียบเทียบยากระตุ้นน้ำนมกับยาหลอกหรือการไม่ได้รับการรักษา ไม่มีรายงานอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวที่ 3,4 หรือ 6 เดือนและมีการศึกษาเพียง 1 ฉบับ (metoclopramide, ผู้เข้าร่วม 20 คน) ที่รายงานการน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในทารกที่กินเฉพาะนมแม่ ซึ่งเพิ่มขึ้นดีกว่ากลุ่มที่ได้รับสารกระตุ้นน้ำนม การศึกษา 3 ฉบับที่ติดตามปริมาณน้ำนม (domperidone, metoclopramide, sulpiride; ผู้เข้าร่วม 151 คน) และรายงานว่า มีปริมาณน้ำนมมากขึ้นในกลุ่มที่ได้รับสารกระตุ้นน้ำนม แม้ว่าหลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ แทบไม่มีการรายงานเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ แต่มีที่กล่าวถึงค่อนข้างจำกัดและอาการเล็กน้อย เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ความอยากอาหารลดลง ปวดศีรษะและปากแห้ง

สารธรรมชาติที่กระตุ้นน้ำนม

การศึกษา 27 ฉบับ เปรียบเทียบกับสารกระตุ้นน้ำนมธรรมชาติกับยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษา มีการศึกษาเพียง 1 ฉบับ (Mother’s Milk Tea; ผู้เข้าร่วม 60 คน) ตรวจสอบผลกระทบของอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยรายงานว่า "ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ 6 เดือน" โดยไม่ได้ให้ข้อมูลใด ๆ เพิ่มเติม (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) การศึกษา 3 ฉบับ (ผู้เข้าร่วม 275 คน) รายงานน้ำหนักของทารก ซึ่งมีการศึกษา 2 ฉบับ (มะรุม, ชาสกัดผสม) รายงานว่าน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากว่าในกลุ่มที่ได้รับสารกระตุ้นน้ำนม ในขณะที่การศึกษาอื่น ๆ (ยี่หร่า และ ลูกซัด) ไม่สามารถสรุปได้ว่าสามารถเพิ่มน้ำหนักได้ดีว่าในกลุ่มที่ได้สารกระตุ้นน้ำนม ในการศึกษา 13 ฉบับ ติดตามการเปลี่ยนแปลงของปริมาณนม (Bu Xue Sheng Ru, Chan Bao, Cui Ru, หัวปลี, ลูกซัด, ขิง, มะรุม, ลูกซัด, ขิงและขมิ้นผสม, มะตูม, ชาสมุนไพรผสม, Sheng Ru He Ji, ซิลิมารีน, Xian Tong Ru, อินทผาลัม; ผู้เข้าร่วม 962 คน) บางการศึกษาแสดงให้เห็นถึงประโยชน์และความแตกต่างเล็กน้อยหรือไม่มีแตกต่างเลย ดังนั้นเราจึงไม่แน่ใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลต่อปริมาณน้ำนม แทบไม่มีการรายงานเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ในกรณีที่กล่าวถึงอาการเล็กน้อย เช่น แม่ที่รู้สึกว่าปัสสาวะมีกลิ่นเหมือนน้ำเชื่อมเมเปิ้ล และมีผื่นในทารก (หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก)

การได้สารกระตุ้นน้ำนมเพียงอย่างเดียวเปรียบเทียบกับอย่างอื่น

การศึกษา 8 ฉบับ (Chanbao; Bue Xue Sheng Ru, Domperidone, มะรุม, ลูกซัด, อินทผาลัม, ทอบันกัน, โมโลโค, Mu Er Wu You, Kun Yuan Tong Ru) เปรียบเทียบการได้สารกระตุ้นน้ำนมชนิดหนึ่งกับอย่างอื่น มีการศึกษาขนาดเล็ก 1 ฉบับ สำหรับการจับคู่แต่ละครั้ง ดังนั้นเราจึงไม่สามารถแน่ใจได้ถ้าผู้ให้สารกระตุ้นน้ำนมเพียงตัวเดียวจะให้ผลลัพธ์ได้ดีกว่าอย่างอื่น

สิ่งนี้หมายความว่าอย่างไร

มีหลักฐานที่จำกัด ว่ายากระตุ้นน้ำนมอาจเพิ่มปริมาณน้ำนม และสารกระตุ้นน้ำนมตามธรรมชาติอาจช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมและน้ำหนักของทารก แต่เราไม่แน่ใจมากนักเกี่ยวกับหลักฐานสนับสนุน เนื่องจากข้อมูลที่จำกัด เรายังไม่แน่ใจ หากมีความเสี่ยงใด ๆ ต่อแม่หรือลูกในการได้รับสารกระต้นน้ำนม จำเป็นต้องมีการศึกษาที่มีคุณภาพสูงกว่านี้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจเกี่ยวกับผลกระทบของสารกระตุ้นน้ำนม

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

เนื่องจากมีข้อจำกัดอย่างมาก จากหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำ เราไม่ทราบว่าสารกระตุ้นน้ำนมมีผลต่อสัดส่วนของมารดาที่ให้นมลูกต่อไปในระยะเวลา 3, 4 และ 6 เดือนหรือไม่ มีหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำ ว่าเภสัชวิทยาของสารกระตุ้นน้ำนมอาจเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ มีหลักฐานบางอย่างจากการวิเคราะห์กลุ่มย่อยที่สารกระตุ้นน้ำนมที่ได้จากธรรมชาติอาจช่วยทำให้น้ำหนักทารกเพิ่มขึ้นและเพิ่มปริมาณน้ำนมในมารดาที่มีทารกสุขภาพดีคลอดครบกำหนด แต่เนื่องจากความแตกต่างของการศึกษา การวัดและการรายงานผลที่ไม่สมบูรณ์ทำให้เราไม่แน่ใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น นอกจากนี้เรายังไม่แน่ใจด้วยว่าสารกระตุ้นน้ำนมตัวใดตัวหนึ่งทำงานได้ดีกว่าสารกระตุ้นตัวอื่น ด้วยข้อมูลที่จำกัดเกี่ยวกับผลข้างเคียง เรามีความไม่แน่ใจหากมีผลกระทบใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสารกระตุ้นน้ำนม การรายงานผลมีเพียงผลเล็กน้อยที่เกิดขึ้น

การทดลองแบบ RCTs ที่มีคุณภาพสูง จำเป็นต้องเร่งศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารกระตุ้นน้ำนม จำเป็นต้องมีชุดผลลัพธ์หลักเพื่อสร้างมาตรฐานน้ำหนักทารกและการวัดปริมาณน้ำนมรวมถึงพื้นฐานที่แน่นสำหรับรูปแบบยาและปริมาณที่ใช้

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ผู้หญิงหลายคนแสดงความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตนมที่เพียงพอ และน้ำนมที่ไม่เพียงพอมักถูกนำมาเป็นข้ออ้างของการเสริมอาหารเสริมและการเลิกเลี้ยงลูกนมแม่ก่อนกำหนด เมื่อคำนึงถึงข้อกังวลนี้ มันจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องพิจารณาอิทธิพลของสุขภาพของแม่และทารกแรกเกิด การดูดนมของทารก การดูดนมที่เหมาะสม และความถี่ในการให้นมต่อการผลิตน้ำนม และขั้นตอนนั้นจะต้องได้รับดำเนินการแก้ไขหรือชดเชย

สารกระตุ้นการหลั่งน้ำนมชนิดรับประทานเป็นสารที่กระตุ้นการผลิตน้ำนม สารเหล่านั้นอาจจะเกี่ยวกับเภสัชวิทยาหรือไม่เกี่ยวกับเภสัชวิทยา (เป็นธรรมชาติ) สารกระตุ้นการหลั่งน้ำนมตามธรรมชาติมักเป็นพืชหรือสารอาหารอื่น ๆ ทางเลือกระหว่างสารกระตุ้นน้ำนมที่เกี่ยวกับเภสัชวิทยาหรือทางธรรมชาตินั้นมักได้รับอิทธิพลจากความคุ้นเคยและประเพณีท้องถิ่น หลักฐานสำหรับประโยชน์ที่เป็นไปได้และอันตรายของสารกระตุ้นน้ำนมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจที่จะใช้

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของสารกระตุ้นการหลังน้ำนมชนิดรับประทานเพื่อเพิ่มการผลิตน้ำนมในแม่ของทารกครบกำหนดที่ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล

วิธีการสืบค้น: 

เราสืบค้นจาก Cochrane Pregnancy and Childbirth Group's Trials Register, ClinicalTrials.gov , the World Health Organization (WHO) International Clinical Trials Registry Platform ( ICTRP ), Health Research and Development Network - Phillippines ( HERDIN ), Natural Products Alert ( Napralert ), the Personal Reference Collection of author LM และ Reference List of Retributed Studies (4 พฤศจิกายน 2019)

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวมการทดลองแบบ randomised controlled trials (RCTs) และ quasi-RCTs (รวมถึงบทคัดย่อที่ตีพิมพ์) เปรียบเทียบสารกระตุ้นน้ำนมชนิดรับประทานกับยาหลอก การไม่รักษาหรือสารกระตุ้นน้ำนมชนิดรับประทานแบบอื่นในมารดาที่ให้นมทารกครบกำหนดที่มีสุขภาพดี เรายังรวมการทดลองแบบ cluster-randomised trials แต่ไม่รวมการทดลองแบบ cross-over trials

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

เราใช้วิธีการมาตรฐานของ Cochrane Pregnancy and Childbirth methods สำหรับการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประพันธ์ 2 ถึง 4 คน คัดเลือกการศึกษา ประเมินความเสี่ยงของการมีอคติและดึงข้อมูลจากแต่ละการศึกษาโดยเป็นอิสระต่อกันเพื่อนำมาวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้อง ในกรณีที่จำเป็น เราติดต่อผู้วิจัยเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น

ผลการวิจัย: 

พบว่ามีการทดลองแบบ RCTs 41 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับมารดา 3005 คน และทารก 3006 คน จากอย่างน้อย 17 ประเทศ ที่เข้าเกณฑ์การคัดเลือก การศึกษาได้ดำเนินการทั้งตอนหลังคลอดทันทีในโรงพยาบาลหรือในชุมชน มีตัวแปรที่ต้องพิจารณาในมารดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความคล้ายคลึงกันหรือไม่และพวกเขามีภาวะการหลั่งน้ำนมไม่เพียงพอหรือไม่ อายุของทารกที่เริ่มการศึกษาอยู่ในช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือน หลักฐานมีความเชื่อมั่นโดยรวมอยู่ในระดับต่ำถึงต่ำมากเนื่องจากมีความเสี่ยงของการมีอคติสูง (เหตุผลหลักเกิดจากการขาดการปิดบัง) ความหลากหลายทางคลินิกและสถิติที่สำคัญและความไม่แม่นยำของการวัดผล

เภสัชวิทยาของสารกระตุ้นน้ำนม

การศึกษา 9 ฉบับ เปรียบเทียบเภสัชวิทยาของสารกระตุ้นน้ำนม (domperidone, metoclopramide, sulpiride, thyrotropin-releasing hormone) กับยาหลอกหรือการไม่ได้รับการรักษา

ไม่มีการรายงานผลลัพธ์หลักของสัดส่วนของมารดาที่ให้นมบุตรอย่างต่อเนื่องที่ระยะเวลา 3, 4 และ 6 เดือน มีเพียงการศึกษาเดียว (metoclopramide) รายงานผลของน้ำหนักทารก ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่างกัน (mean difference (MD) 23.0 grams, 95% confidence interval (CI) -47.71 ถึง 93.71; การศึกษา 1 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 20 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ )

การศึกษา 3 ฉบับ (metoclopramide, domperidone, sulpiride) รายงานเกี่ยวกับปริมาณน้ำนม ซึ่งพบว่า เภสัชวิทยาของสารกระตุ้นน้ำนมอาจเพิ่มปริมาณน้ำนม (MD 63.82 mL, 95% CI 25.91 ถึง 101.72; I² = 34 %; การศึกษา 3 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 151 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) การวิเคราะห์กลุ่มย่อยบ่งชี้ว่าอาจมีปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ยาแต่ละตัว แต่มีช่วงความเชื่อมั่น (CIs) ที่แตกต่างกัน

มีการรายงานผลข้างเคียงที่จำกัด ซึ่งไม่สามารถวิเคราะห์เมตต้าได้ ที่กล่าวถึงก็มีที่อาการเล็กน้อย เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดศีรษะและปากแห้ง (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) ไม่พบรายงานว่ามีการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงในทารก

สารกระตุ้นน้ำนมจากธรรมชาติ

การศึกษา 27 ฉบับได้เปรียบเทียบ สารกระตุ้นน้ำนมตามธรรมชาติแบบรับประทาน (หัวปลี, ยี่หร่า, ลูกซัด, ขิง, ixbut, ฝ้ายเทศ, มะรุม, อินทผาลัม, ขาหมู, ผักชีช้าง, ซิลิมาริน, ใบทอบันกัน (torbangun leaves) หรือส่วนผสมจากธรรมชาติอื่น ๆ ) กับยาหลอกหรือการไม่มีการรักษา

การศึกษา 1 ฉบับ (Mother's Milk Tea) รายงานอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 6 เดือน สรุปว่า "ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ" (ไม่มีข้อมูลและไม่มีการวัดที่มีนัยสำคัญใด ๆ, ผู้เข้าร่วม 60 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก)

การศึกษา 3 ฉบับ (ยี่หร่า, ลูกซัด, มะรุม, ชาสมุนไพรผสม) รายงานเกี่ยวกับน้ำหนักทารกแต่ไม่สามารถทำเป็นการวิเคราะห์เมตต้าได้ เนื่องจากความแตกต่างทางคลินิกและทางสถิติที่สำคัญ (I 2 = 60%, ผู้เข้าร่วม 275 คน, หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) การวิเคราะห์กลุ่มย่อยแสดงให้เห็นว่า มีความไม่แน่นอนมากว่ายี่หร่าหรือ ลูกซัด ช่วยเพิ่มน้ำหนักของทารก ในขณะที่มะรุมและชาสมุนไพรผสมอาจเพิ่มน้ำหนักทารกเมื่อเทียบกับยาหลอก การศึกษา 13 ฉบับ (Bu Xue Sheng Ru, Chanbao, Cui Ru, หัวปลี, ขิง, มะรุม, ลูกซัด, ขิงและขมิ้นผสม, ixbut, ชาสมุนไพรผสม, Sheng Ru He Ji, ซิลิมาริน, Xian Tong Ru, อินทผาลัม; ผู้เข้าร่วม 962 คน) รายงานเกี่ยวกับปริมาณน้ำนม แต่ไม่สามารถทำการวิเคราะห์เมตต้าได้เนื่องจากมีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างการศึกษา (I 2 = 99%) การวิเคราะห์กลุ่มย่อยสำหรับแต่ละวิธีการ (intervention) พบว่ามีทั้งประโยชน์หรือความแตกต่างน้อยหรือไม่มีความแตกต่างกันเลย (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) มีการรายงานผลข้างเคียงที่จำกัด ซึ่งไม่สามารถวิเคราะห์เมตต้าได้ ในกรณีที่มีการรายงาน พบว่ามีอาการเล็กน้อย เช่น แม่ที่รู้สึกว่าปัสสาวะมีกลิ่นเหมือนน้ำเชื่อมเมเปิ้ล และมีผื่นในทารก (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก)

สารกระตุ้นน้ำนม เปรียบเทียบกับ สารกระตุ้นน้ำนม

การศึกษา 8 ฉบับ (Chanbao; Bue Xue Sheng Ru, Domperidone, มะรุม, ลูกซัด, อินทผาลัม, ทอบันกัน, โมโลโค, Mu Er Wu You, Kun Yuan Tong Ru) เปรียบเทียบการได้สารกระตุ้นน้ำนมชนิดรับประทานกับอย่างอื่น เราไม่สามารถทำการวิเคราะห์เมตต้าได้เนื่องจากมีการศึกษาเล็กๆเพียงการศึกษาเดียวที่จะเอามาเปรียบเทียบกัน ดังนั้นเราจึงไม่ทราบได้ว่าการให้สารกระตุ้นน้ำนมเพียงตัวเดียวดีกว่าตัวอื่นๆหรือไม่

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล แพทย์หญิงชุติมา ชุณหะวิจิตร วันที่ 18 มกราคม 2024

Tools
Information