การส่องกล้องโพรงมดลูกในรายที่สงสัยความผิดปกติของโพรงมดลูกในสตรีที่มีปัญหาในการตั้งครรภ์

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

ผู้ประพันธ์ ได้ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับผลของการส่องกล้องโพรงมดลูกในการรักษาสตรีที่มีปัญหาในการตั้งครรภ์ที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของโพรงมดลูก

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

การมีชีวิตของมนุษย์เริ่มต้นจากไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิมีการฝังตัวที่ผนังด้านในของโพรงมดลูก ความเชื่อที่ว่า ความผิดปกติที่เกิดจากสิ่งเหล่านี้ เช่น การมีติ่งเนื้อ (การเจริญเติบโตที่ผิดปกติ) เนื้องอกมดลูก (ที่ไม่ใช่มะเร็ง) แผ่นกั้นในโพรงมดลูก (บริเวณด้านบนจนถึงด้านล่าง รูปร่างของโพรงมดลูกที่ถูกแบ่งกันให้เป็นรูปสามเหลี่ยม) หรือ มีผังผืด (ดึงรั้งให้ผนังมดลูกทั้งสองด้านมาชิดกัน) อาจส่งผลให้เกิดปัญหาดังกล่าว การแก้ไขความผิดปกติดังกล่าวโดยใช้กล้องที่มีขนาดเล็กส่องไปยังโพรงมดลูกจะสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ทั้งการตั้งครรภ์ที่เกิดเองตามธรรมชาติหรือในภายหลังการรักษาภาวะมีบุตรยาก เช่น การทำผสมเทียม การทำเด็กหลอดแก้ว

ลักษณะของการศึกษา

เราพบสองการศึกษา การศึกษาที่หนึ่ง ทำการศึกษาเปรียบเทียบโดยการผ่าตัดตัดเนื้องอกมดลูกเทียบกับในรายที่ไม่ได้รับการผ่าตัดในสตรีจำนวน 94 รายที่ต้องการจะตั้งครรภ์ในรอบธรรมชาติ โดยทำการศึกษาตั้งแต่ เดือนมกราคม 1988 ถึง เมษายน 2005 การศึกษาที่สอง ทำการศึกษาเปรียบเทียบโดยการผ่าตัดติ่งเนื้อเทียบกับในรายที่ได้รับการส่องกล้องโพรงมดลูกเพียงอย่างเดียวในสตรีจำนวน 204 รายก่อนทำการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อของสามีตั้งแต่เดือน มกราคม 2000 ถึง กุมภาพันธ์ 2004 หลักฐานที่มีอยู่เป็นปัจจุบันจนถึงเดือนเมษายน ปี 2018 ไม่มีการศึกษาใดได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุน

ผลการศึกษาที่สำคัญ

ในกลุ่มสตรีที่มีเนื้องอกมดลูกที่ต้องการต้ังครรภ์ตามธรรมชาติ พบว่า ผลการรักษาไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการผ่าตัดตัดเนื้องอกมดลูกช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์หรือลดอัตราการแท้งบุตรเมื่อเทียบกับการรักษาทั่วไป ผลที่ได้อาจเกิดจากจำนวนสตรี (94 ราย) และจำนวนคนตั้งครรภ์ (30 ราย) ที่ทำการศึกษามีจำนวนน้อยเกินไป และคุณภาพของวิจัยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ เราพบว่า ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดมีชีพ และภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เราพบว่า ไม่มีการศึกษาในสตรีที่มีติ่งเนื้อ และแผ่นกั้น หรือ มีผังผืดในโพรงมดลูก

การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อตัดติ่งเนื้อก่อนการรักษาด้วยวิธีผสมเทียม (IUI การรักษาโดยการฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่และตัวอสุจิ) อาจช่วยเพื่มอัตราการตั้งครรภ์เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัดติ่งเนื้อ แม้ว่าสตรี 28% ตั้งครรภ์ได้เองโดยไม่ได้รับการผ่าตัด หลักฐานแสดงให้เห็นว่าประมาณ 63% ของสตรีสามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากการกำจัด polyps เราไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนของการคลอดมีชีวิต ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดส่องกล้อง หรือ อัตราการแท้งบุตรก่อนการผสมเทียม เราไม่ได้รวบรวมการศึกษาในสตรีที่ได้รับการรักษาภาวะเจริญพันธุ์อื่นๆ ก่อนการผ่าตัด

ยังคงต้องการการศึกษาวิจัยที่มากกว่าที่มีอยู่ในขณะนี้ เพื่อประเมินว่าการผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกก่อนการรักษาภาวะมีบุตรยากสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ก่อนที่จะไปใช้ในการรักษากับสตรีทั่วไปที่มีบุตรยาก

คุณภาพของหลักฐาน

งานวิจัยที่รวบรวมมามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ต่ำเนื่องจากจำนวนประชากรที่น้อยและมีรูปแบบการวิจัยไม่ดี

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ผลการศึกษายังไม่ชัดเจนในแง่ประโยชนที่ได้รับจากการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อตัดเนื้องอกที่โพรงมดลูก ถึงการเพิ่มขึ้นของโอกาสการตั้งครรภ์ทางคลินิกในรายที่ตรวจแล้วไม่พบสาเหตุของการมีบุตรยาก การศึกษาที่พบในขณะนี้มีคุณภาพต่ำที่บ่งบอกว่าการผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อตัดติ่งเนื้อในโพรงมดลูกที่วินิจฉัยได้จากการทำการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในสตรีก่อนการรักษาด้วยวิธีผสมเทียมเปรียบเทียบกับการส่องกล้องโพรงมดลูกอย่างเดียว ยังคงต้องการการศึกษาวิจัยที่มากกว่าที่มีอยู่ในขณะนี้ เพื่อวัดประสิทธิผลของการผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อการรักษาในกรณีที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของโพรงมดลูกในสตรีที่ตรวจไม่พบสาเหตุการมีบุตรยากก่อนการรักษาด้วยวิธีการผสมเทียม การทำเด็กหลอดแก้ว การปฏิสนธิโดยการฉีดอสุจิเข้าเซลล์ไข่โดยตรง

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การศึกษาเชิงสังเกต พบว่า อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นภายหลังการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อตัดติ่งเนื้อ ตัดเนื้องอกมดลูกชนิดที่อยู่ในโพรงมดลูก แผ่นกั้นที่โพรงมดลูก หรือ ผังผืดในโพรงมดลูก ซึ่งอัตรการตั้งครรภ์อยู่ในช่วงร้อยละ 10 ถึง 15 ในสตรีที่ต้องการรักษาภาวะมีบุตรยาก

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของการผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกในการรักษาโดยการตัดติ่งเนื้อ ตัดเนื้องอกมดลูก ตัดผนังกั้นโพรงมดลูก หรือตัดผังผืดในโพรงมดลูก ที่วินิจฉัยได้จากการทำคลื่นเสียงความถี่สูง การผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อการวินิจฉัย หรือวินิจฉัยได้จากทั้งสองวิธีในสตรีที่มีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือ ก่อนการทำผสมเทียม ในสตรีที่ทำเด็กหลอดแก้ว หรือ การปฏิสนธิโดยการฉีดอสุจิเข้าเซลล์ไข่โดยตรง

วิธีการสืบค้น: 

เราทำการสืบค้นข้อมูลตามฐานข้อมูลตั้งแต่เริ่มมีการตีพิมพ์จนกระทั่งถึงวันที่ 16 เมษายน 2018 ใน The Cochrane Gynaecology and Fertility Group Specialised Register, the Cochrane Central Register of Studies Online, ; MEDLINE, Embase , CINAHL , และ ฐานข้อมูลอื่นทางอิเลกโทรนิก โดยรวมถึงการศึกษาวิจัยที่ยังอยู่ในขั้นตอนการทำวิจัย การวิจัยที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ และรายชื่อเอกสารอ้างอิง เรายังได้ทำการค้นหาวิจัยที่ถูกนำเสนอการประชุมของ American Society for Reproductive Medicine (ASRM) ทั้งในบทคัดย่อและการดำเนินการ (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2014 ถึง 12 พฤษภาคม 2018) และเราได้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญในสาขา

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การสุ่มเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกและกลุ่มควบคุมในสตรีที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของโพรงมดลูกก่อนการรักษาด้วยวิธีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

การสุ่มเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกและกลุ่มควบคุมในสตรีที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของโพรงมดลูกก่อนการรักษาด้วยวิธีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

ผลลัพธ์หลัก การเกิดมีชีวิตและภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ผลลัพธ์รอง คือ การตั้งครรภ์และการแท้งบุตร

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวน 2 คนได้ทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นอิสระต่อกัน เพื่อประเมินงานวิจัยในเรื่องการคัดเข้าในการทบทวน ความเสี่ยงต่อการมีอคติ คัดแยกข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้อง ผู้ประพันธ์ติดต่อผู้ทำการศึกษาวิจัย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ผลการวิจัย: 

มีสองการทดลองที่เข้าเกณฑ์การศึกษา

1. การสุ่มเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกและกลุ่มควบคุมในสตรีที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของโพรงมดลูกก่อนการรักษาด้วยวิธีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

ในสตรีที่ไม่พบสาเหตุการมีบุตรยาก และ ในรายที่มีเนื้องอกโพรงมดลูก เราไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่า การผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อตัดเนื้องอกที่โพรงมดลูก ช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิก เมื่อเทียบกับการรักษาโดยการสังเกตอาการ (odds ratio (OR) 2.44, ค่าช่วงเชื่อมั่น 95% อยู่ในระหว่าง 0.97 ถึง 6.17; P = 0.06, ในสตรี 94 ราย; มีคุณภาพหลักฐานที่ต่ำ). เราไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่า การผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกในการตัดเนื้องอกที่โพรงมดลูกสามารถลดอัตราการแท้งบุตรเมื่อเทียบกับการรักษาโดยสังเกตอาการ (OR 1.54, ค่าช่วงเชื่อมั่น 95% อยู่ในระหว่าง 0.47 ถึง 5.00; P = 0.47,ในสตรี 94 ราย; มีคุณภาพหลักฐานที่ต่ำ) เราพบว่า ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดมีชีพ และภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด พวกเราไม่พบการศึกษาแบบสุ่มที่ศึกษาเกี่ยวกับติ่งเนื้อที่ผังผืดและแผ่นกั้นในโพรงมดลูก

2. การสุ่มเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกและกลุ่มควบคุมในสตรีที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของโพรงมดลูกก่อนการรักษาด้วยวิธีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

การผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อตัดติ่งเนื้อก่อนการผสมเทียมอาจเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิกเมื่อเทียบกับการผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อการวินิจฉัยเพียงอย่างเดียว พบว่า สตรีที่ไม่ได้ตัดติ่งเนื้อมีโอกาสตั้งครรภ์ 28% เมื่อเทียบกับสตรีที่ได้รับการตัดติ่งเนื้อมีอัตราการตั้งครรภ์ 63% (ค่าช่วงเชื่อมั่น 95% อยู่ในระหว่าง 45% ถึง 89%) พบโอกาสการตั้งครรภ์ทางคลินิกในรายที่ผ่าตัดตัดติ่งเนื้อสูงขึ้น (คิดเป็น odd ratio 4.41 ค่าช่วงเชื่อมั่น 95%์ อยู่ในระหว่าง 2.45 ถึง 7.96 ค่า P < 0.0001 ในสตรีจำนวน 204 ราย โดยคุณภาพวิจัยอยู่ในระดับต่ำ) เราพบว่า ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดมีชีพ และภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด หรือ อัตราการแท้งบุตรในสตรีที่มีติ่งเนื้อก่อนการผสมเทียม เราไม่พบการศึกษาที่ทำการศึกษาในสตรีที่มีเนื้องอกในโพรงมดลูก ผังผืดในโพรงมดลูก หรือ แผ่นกั้นในโพรงมดลูก ก่อนทำการผสมเทียม หรือ ในสตรีที่มีความผิดปกติของโพรงมดลูกก่อนทำเด็กหลอดแก้ว หรือ การปฏิสนธิโดยการฉีดอสุจิเข้าเซลล์ไข่โดยตรง

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล พญ.หลิงหลิง สาลัง

Tools
Information