การฝังเข็มสำหรับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการฝังเข็มสำหรับการรักษาภาวะตกไข่ผิดปกติในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) คืออะไร

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบเป็นภาวะที่ที่สตรีมีซีสต์ (ถุงที่เต็มไปด้วยของเหลว) หลายอันบนรังไข่ (อวัยวะที่ผลิตไข่) ของพวกเขา และมีลักษณะทางคลินิกของการมีประจำเดือนไม่บ่อยหรือน้อยมาก (รอบเดือน) ความล้มเหลวในการตั้งครรภ์ (ท้อง) และการเจริญเติบโตของขนมากเกินไป สตรีอาจมีหรืออาจจะไม่มีอาการ การรักษาแบบตะวันตกมาตรฐานในปัจจุบันสำหรับสตรีที่มี PCOS เป็นการจ่ายยา การผ่าตัดและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต มีหลักฐานแนะนำการฝังเข็มอาจมีอิทธิพลต่อการตกไข่ (การปล่อยไข่) โดยมีผลต่อระดับของฮอร์โมนต่างๆ การฝังเข็มเป็นการรักษาแบบจีนที่มีการใส่เข็มขนาดเล็กเข้าไปในผิวหนังในจุดเฉพาะ กลไกที่แน่นอนของวิธีการทำงานของการฝังเข็มสำหรับ PCOS ไม่เป็นที่รู้ชัดและเรามีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการใช้งานใน PCOS ในการทบทวนนี้

ลักษณะของการศึกษา

เราสืบค้นจากฐานข้อมูลทางการแพทย์สำหรับการศึกษาวิจัยที่ผู้เข้าร่วมถูกสุ่มเข้ากลุ่มการทดลองหนึ่งกลุ่มจากทั้งหมดสองกลุ่มหรือมากกว่าสองกลุ่มการรักษา ที่ประกอบด้วยการรักษาด้วยการฝังเข็มสำหรับสตรีที่มี PCOS ที่มีการตกไข่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่เลย การฝังเข็มถูกเปรียบเทียบกับการแสร้งฝังเข็ม (วิธีหลอก) ไม่มีการรักษา การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (เช่น การพักผ่อน) และการรักษาทั่วไป

เรารวบรวมการทดลองแปดฉบับ มีสตรี 1546 คนในการทบทวนวรรณกรรมนี้ การศึกษาเมื่อเทียบกับการฝังเข็มที่แท้จริงเทียบกับการฝังเข็มหลอก clomiphene (ยาเพื่อก่อให้เกิดการตกไข่) การพักผ่อนและไดแอน-35 (ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม); และการฝังเข็มร่วมกับไฟฟ้าความถี่ต่ำ (ที่กระแสไฟฟ้าขนาดเล็กจะถูกส่งผ่านเข็มฝังเข็ม) กับการออกกำลังกาย เรารวมสตรีที่ต้องการที่จะตั้งครรภ์และสตรีที่ต้องการการตกไข่เป็นประจำและการควบคุมอาการเป็นประชากรหลักทั้งสองของเราที่น่าสนใจ

ผลการศึกษาที่สำคัญ

ผลประโยชน์หลักของเราคืออัตราการเกิดมีชีพ อัตราการตั้งครรภแฝด (สำหรับสตรีที่ต้องการที่จะตั้งครรภ์) และอัตราการตกไข่ (สำหรับสตรีที่ต้องการตกไข่ปกติ/การควบคุมอาการ) เนื่องจากหลักฐานมีคุณภาพต่ำมากและผลที่ไม่แม่นยำ เราไม่แน่ใจในผลของการฝังเข็มต่ออัตราการเกิดมีชีพ อัตราการตั้งครรภ์แฝดและอัตราการตกไข่เมื่อเทียบกับการฝังเข็มหลอก ด้วยเหตุผลเดียวกัน เรายังไม่แนใจในผลของการฝังเข็มต่อการตั้งครรภ์ทางคลินิกและอัตราการแท้ง การฝังเข็มอาจมีการฟื้นฟูการมีประจำเดือนที่สม่ำเสมอขึ้น การฝังเข็มอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่แย่ลงเมื่อเทียบกับการฝังเข็มหลอก

ไม่มีการศึกษารายงานข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเกิดมีชีพและอัตราการตั้งครรภ์แฝดสำหรับการเปรียบเทียบอื่นๆ: การออกกำลังกายหรือไม่มีการรักษา การพักผ่อนและ clomiphene การศึกษาที่ใช้ไดแอน-35 ไม่ได้วัดผลในทางการเจริญพันธ์เนื่องจากสตรีมีความสนใจเพียงการควบคุมอาการ

เราไม่แน่ใจว่าการฝังเข็มช่วยอัตราการตกไข่ที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการพักผ่อนหรือไดแอน-35 (วัดโดยอัลตราซาวนด์ ซึ่งใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อสร้างภาพ สามเดือนหลังการรักษา) การเปรียบเทียบอื่นๆไม่ได้รายงานเกี่ยวกับอัตราการตกไข่

ผลข้างเคียงถูกบันทึกไว้ในกลุ่มการฝังเข็มสำหรับการเปรียบเทียบกับการออกกำลังกายหรือไม่มีการรักษา clomiphene และ Diane-35 ผลข้างเคียงเหล่านี้ได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ (รู้สึกป่วย) และช้ำ

คุณภาพของหลักฐานการศึกษาอยู่ในระดับต่ำหรือต่ำมาก มีหลักฐานไม่เพียงพอในขณะนี้เพื่อสนับสนุนการใช้การฝังเข็มสำหรับการรักษาภาวะตกไข่ผิดปกติในสตรีที่มี PCOS

คุณภาพของหลักฐาน

หลักฐานที่อยู่ในระดับที่ต่ำมากถึงระดับปานกลาง ข้อจำกัดหลักคือไม่ได้มีการรายงานผลทางคลินิกที่สำคัญและข้อมูลไม่เพียงพอ

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

สำหรับการฝังเข็มที่แท้จริงกับการฝังเข็มหลอก เราไม่สามารถแยกความแตกต่างทางคลินิกในอัตราการเกิดมีชีพ อัตราการตั้งครรภ์แฝด อัตราการตกไข่ อัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิกหรือการแท้ง จำนวนวันระหว่างรอบประจำเดือนอาจดีขึ้นในผู้เข้าร่วมได้รับการฝังเข็มที่แท้จริงเมื่อเทียบกับการฝังเข็มหลอก การฝังเข็มจริงอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่แย่ลงเมื่อเทียบกับการฝังเข็มหลอก

ไม่มีการศึกษารายงานข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเกิดมีชีพและอัตราการตั้งครรภ์แฝดสำหรับการเปรียบเทียบอื่นๆ: การออกกำลังกายหรือไม่มีการรักษา การพักผ่อนและ clomiphene การศึกษารวมถึงไดแอน-35 ไม่ได้วัดการเจริญพันธ์เนื่องจากสตรีในการทดลองเหล่านี้ไม่ได้ต้องการมีบุตร

เราไม่แน่ใจว่าการฝังเข็มช่วยเพิ่มอัตราการตกไข่ (วัดโดยอัลตราซาวนด์หลังการรักษาสามเดือน) เมื่อเทียบกับการพักผ่อนหรือ Diane-35 การเปรียบเทียบอื่นๆไม่ได้รายงานเกี่ยวกับผลลัพธ์นี้

ผลข้างเคียงถูกบันทึกไว้ในกลุ่มการฝังเข็มสำหรับการเปรียบเทียบกับการออกกำลังกายหรือไม่มีการรักษา, clomiphene และ Diane-35 เหล่านี้รวมถึงอาการวิงเวียนศีรษะ อาการคลื่นไส้และเลือดออกใต้ผิวหนัง หลักฐานเป็นที่มีคุณภาพต่ำมากกับความกว้างมาก CIs และอัตราการเกิดเหตุการณ์ที่ต่ำมาก

มี RCTs จำนวนจำกัดของการศึกษาในด้านนี้ ทำให้จำกัดความสามารถในการตรวจสอบประสิทธิภาพของการฝังเข็มสำหรับ PCOS

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) มีเอกลักษณ์ด้วยอาการทางคลินิกของประจำเดือนมาน้อย ภาวะมีบุตรยากและขนดก การรักษาแบบดั้งเดิมของ PCOS ได้แก่ ยากินหลายชนิด การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการผ่าตัดแบบต่างๆ เบต้า-เอนดอร์ฟิน มีอยู่ในของเหลวในฟองไข่ ของทั้งรังไข่ปกติและ polycystic มันแสดงให้เห็นว่าระดับเบต้า-เอนดอร์ฟิน ของเหลวฟองไข่ในรังไข่ ของสตรีที่มีสุขภาพดีที่อยู่ระหว่างการตกไข่จะวัดได้สูงกว่าระดับที่วัดในพลาสมา การฝังเข็มส่งผลกระทบต่อการผลิตเบต้า เอนดอร์ฟิน ซึ่งอาจมีผลต่อ การหลั่ง gonadotropin-releasing hormone (GnRH) จึงมีการตั้งสมมติฐานว่าการฝังเข็มอาจมีบทบาทในการเหนี่ยวนำการตกไข่ผ่านการเพิ่มขึ้นของ เบต้า เอนดอร์ฟิน ที่ส่งผลต่อการหลั่ง GnRH และนี่คือการปรับปรุงการทบทวนที่เผยแพร่ในปี 2016

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษาด้วยการฝังเข็มสำหรับ การตกไข่น้อยหรือไม่ตกไข่ในสตรีที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) สำหรับทั้งด้านการเจริญพันธ์และการควบคุมอาการ

วิธีการสืบค้น: 

เราได้ระบุการศึกษาที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลรวมถึง Gynaecology and Fertility Group Specialised Register, CENTRAL, MEDLINE, Embase, PsycINFO, CNKI, CBM และ VIP นอกจากนี้เรายังค้นหาการลงทะเบียนการวิจัยและรายการอ้างอิงจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสืบค้นจาก CENTRAL, MEDLINE, Embase, PsycINFO, CNKI และ VIP เป็นปัจจุบันถึงเดือนพฤษภาคม 2018 การสืบค้นจากฐานข้อมูล CBM เป็นปัจจุบันถึงเดือนพฤศจิกายน 2015

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวมถึงrandomised controlled trials (RCTs) ที่ศึกษาประสิทธิภาพของการรักษาฝังเข็มสำหรับ ภาวะตกไข่น้อยหรือไม่ตกไข่ในสตรีที่มี PCOS เราคัดการศึกษาแบบ quasi- or pseudo-RCTs. ออก

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนสองคนเลือกและดึงข้อมูลจากรายงานการศึกษาที่รวบรวมได้อย่างเป็นอิสระต่อกัน เราคำนวณอัตราส่วนความเสี่ยง (RR) ความแตกต่างค่าเฉลี่ย (MD) ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมาตรฐาน (SMD) และ 95% ช่วงเชื่อมั่น (CIs) ผลลัพธ์หลักคืออัตราการเกิดมีชีพ อัตราการตั้งครรภ์แฝดและอัตราการตกไข่ และผลลัพธ์รองคือ อัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิก ระยะเวลาฟื้นฟูประจำเดือนปกติ อัตราการแท้งและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เราได้ประเมินคุณภาพของหลักฐานที่ได้โดยวิธีการของเกรด (GRADE)

ผลการวิจัย: 

รวบรวม RCTs จำนวนแปดฉบับ (จำนวนสตรี 1546 คน) RCTs ห้าฉบับ ถูกรวมอยู่ในการตรวจสอบก่อนหน้านี้และ RCTs ใหม่จำนวนสามฉบับที่ถูกเพิ่มเข้ามาในการปรับปรุงการทบทวนนี้ พวกเขาเปรียบเทียบการฝังเข็มจริงกับการฝังเข็มหลอก (RCTs สามฉบับ) การฝังเข็มจริงเมื่อเทียบกับการพักผ่อน (RCTs หนึ่งฉบับ) การฝังเข็มเทียบกับ clomiphene (RCTs หนึ่งฉบับ) การฝังเข็มไฟฟ้าความถี่ต่ำเทียบกับการออกกำลังกายหรือไม่มีการรักษา (RCTs หนึ่งฉบับ) การฝังเข็มเทียบกับไดแอน-35 (RCTs สองฉบับ) การศึกษาที่เปรียบเทียบการฝังเข็มจริงเทียบกับ Diane-35 ไม่ได้วัดทางการเจริญพันธ์เนื่องจากพวกเขามุ่งเน้นไปที่การควบคุมอาการ

การศึกษาทั้งหมด ยกเว้นสามการศึกษา มีความเสี่ยงของการมีอคติสูงอย่างน้อยหนึ่งประเด็น

สำหรับการฝังเข็มจริงกับการฝังเข็มหลอก เราไม่สามารถแยกความแตกต่างทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมีชีพ (RR 0.97, 95% CI 0.76 ถึง 1.24; 1 RCT, สตรี 926 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ); อัตราการตั้งครรภ์แฝด (RR 0.89, 95% CI 0.33 ถึง 2.45; 1 RCT, สตรี 926 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ); อัตราการตกไข่ (SMD 0.02, 95% CI –0.15 ถึง 0.19, I2 = 0%; 2 RCTs, สตรี 1010 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ); อัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิก (RR 1.03, 95% CI 0.82 ถึง 1.29; I2 = 0%; 3 RCTs, สตรี 1117 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ) และอัตราการแท้ง (RR 1.10, 95% CI 0.77 ถึง 1.56; 1 RCT, สตรี 926 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ)

จำนวนวันระหว่างรอบประจำเดือนอาจดีขึ้นในผู้เข้าร่วมที่ได้รับการฝังเข็มที่แท้จริงเมื่อเทียบกับการฝังเข็ม (MD –312.09 วัน, 95% CI –344.59 ถึง –279.59; 1 RCT, สตรี 141 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ)

การฝังเข็มจริงอาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เมื่อเทียบกับการฝังเข็มหลอก (RR 1.16, 95% CI 1.02 ถึง 1.31; I2 = 0%; 3 RCTs, สตรี 1230 คน; หลักฐานมีคุณภาพระดับปานกลาง)

ไม่มีการศึกษารายงานข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเกิดมีชีพและอัตราการตั้งครรภ์แฝดสำหรับการเปรียบเทียบอื่นๆ: การออกกำลังกายหรือไม่มีการรักษา การพักผ่อนและ clomiphene การศึกษาไดแอน-35 ไม่ได้วัดผลลัพธ์ด้านการเจริญพันธ์

เราไม่แน่ใจว่าการฝังเข็มมีการปรับปรุงอัตราการตกไข่ (วัดโดยการอัลตร้าซาวด์หลังการรักษาสามเดือน) เมื่อเทียบกับการผ่อนคลาย (MD 0.35, 95% CI 0.14 ถึง 0.56; 1 RCT, สตรี 28 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก) หรือไดแอน-35 (RR 1.45, 95% CI 0.87 ถึง 2.42; 1 RCT, สตรี 58 คน หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก)

คุณภาพของงานวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำมาก ข้อจำกัดหลักของความล้มเหลวในการรายงานผลทางคลินิกที่สำคัญและ ความไม่แม่นยำที่ร้ายแรงมาก

บันทึกการแปล: 

แปลโดย นพ. เจน โสธรวิทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 15 สิงหาคม 2019

Tools
Information