สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นประโยชน์หรือเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ความเป็นมา

สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นสารให้ความหวานที่มีความเข้มของความหวานสูงกว่าและปริมาณแคลอรี่ต่อกรัมต่ำกว่ากลุ่มสารให้ความหวานที่มีแคลอรี่ เช่น ซูโครสหรือน้ำเชื่อมข้าวโพด ทั้งประชากรทั่วไปและผู้ป่วยโรคเบาหวานใช้สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นสารให้ความหวานทดแทนแคลอรี่เพื่อควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตและพลังงาน สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการส่วนใหญ่ที่ได้รับการรับรองสำหรับการบริโภคของมนุษย์มักจะเป็นสารสังเคราะห์ (สารให้ความหวานเทียม) อย่างไรก็ตามสารให้ความหวานที่ไม่ให้แคลอรี่ตามธรรมชาติสำหรับการบริโภคของมนุษย์กำลังมีเพิ่มมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความหวานด้วยสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการมีวางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด ได้แก่ เครื่องดื่มลดน้ำหนัก โยเกิร์ต ขนมหวานและ หมากฝรั่งซึ่งป็นผลิตภัณฑ์ที่พบมากที่สุดที่มีสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ นอกจากนี้ยังมีสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นสารให้ความหวานบนโต๊ะสำหรับผู้บริโภคที่บ้าน เพื่อใช้เป็นสารให้ความหวานสำหรับเครื่องดื่มและสำหรับการปรุงอาหารและการอบขนม

มีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพจากการบริโภคสารให้ความหวานที่ไม่ได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่เข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เราต้องการทราบว่าการบริโภคสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการในผู้ป่วยโรคเบาหวานมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยในระยะยาว (ไกลโคไซเลตเฮโมโกลบิน A1c - HbA1c) น้ำหนักตัวผลข้างเคียงภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (เช่นหัวใจวายตาหรือ โรคไต) และคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหรือไม่

ลักษณะของการศึกษา

เราพบการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม 9 รายการ (การศึกษาที่ผู้เข้าร่วมได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในกลุ่มการรักษาสองกลุ่มขึ้นไปโดยใช้วิธีการสุ่ม) ที่จัดสรรผู้ป่วยโรคเบาหวานให้อยู่กลุ่มที่ได้รับสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการหรืออยู่ในกลุ่มเปรียบเทียบ ตัวเปรียบเทียบคืออาหารปกติที่มีน้ำตาลเพิ่มเติมในการศึกษา 3 รายการ; ให้ยาหลอก (a dummy pill) ในการศึกษา 5 รายการ; และให้ Tagatose (สารให้ความหวานแคลอรี่ต่ำที่มีคุณค่าทางโภชนาการ) ในการศึกษา 1 รายการ การศึกษามีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 979 คน; การศึกษาส่วนใหญ่มีขนาดเล็กโดยมีผู้เข้าร่วมน้อยกว่า 100 คน ระยะของการศึกษาแตกต่างกันไปตั้งแต่ 4 เดือน ถึง 10 เดือน

หลักฐานนี้เป็นข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2019

ผลการศึกษาที่สำคัญ

ข้อมูลที่ได้เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน การเสียชีวิตจากสาเหตุใด ๆ และผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (เช่นการขาดงานการ ไปพบแพทย์ทั่วไป การใช้ยา) และโดยทั่วไปข้อมูลน้อยเกินไปสำหรับการเปรียบเทียบทั้งหมด ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ได้แสดงความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการกับน้ำตาลยาหลอกหรือสารให้ความหวานแคลอรี่ต่ำที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ว่าส่งผลต่อ HbA1c น้ำหนักตัวและผลข้างเคียงอย่างไร

ความเชื่อมั่นของหลักฐาน

เราให้คะแนนความเชื่อมั่นโดยรวมของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำมากเพราะว่า มีจำนวนการศึกษาที่นำเข้าน้อย และแต่ละการศึกษามีผู้เข้าร่วมศึกษาจำนวนน้อย นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดด้านระเบียบวิธีของการศึกษาที่นำเข้า

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

จากหลักฐานยังสรุปไม่ได้ว่าผลของการบริโภค NNS เมื่อเทียบกับการบริโภคน้ำตาลยาหลอกหรือสารให้ความหวานแคลอรี่ต่ำที่มีคุณค่าทางโภชนาการเกี่ยวกับประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์หรือเป็นอันตรายต่อ HbA1c น้ำหนักตัวและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ ชนิดที่ 2 ยังขาดข้อมูลคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความหวานด้วยสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ (NNS) มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป หลายคนที่เป็นโรคเบาหวานชนิด 1 หรือ 2 ใช้ NNS แทนสารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตและพลังงานที่ทานเข้าไป ยังไม่ทราบผลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ NNS ในโรคเบาหวาน

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน

วิธีการสืบค้น: 

เราค้นหา Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL), MEDLINE Ovid, Scopus, WHO ICTRP และ ClinicalTrials.gov วันที่ค้นหาล่าสุดของฐานข้อมูลทั้งหมด (ยกเว้น Scopus) คือเดือนพฤษภาคม 2019 เราค้นหา Scopus ครั้งล่าสุดในเดือนมกราคม 2019 ไม่มีข้อจำกัดด้านภาษา

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) ด้วยระยะเวลา 4 สัปดาห์ขึ้นไป โดยเปรียบเทียบ NNS ประเภทใดก็ได้กับอาหารตามปกติ, ไม่มีสิ่งทดลอง (no intervention), ยาหลอก, น้ำ, สาร NNS ต่างๆ หรือสารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2 การทดลองโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมร่วมกัน (concomitant behaviour-changing interventions) เช่น การรับประทานอาหาร, การออกกำลังกาย หรือทั้งสองอย่าง ตรงตามเกณฑ์การคัดการศึกษาเข้า เนื่องจาก concomitant interventions นั้นเหมือนกันในกลุ่ม intervention และกลุ่มเปรียบเทียบ

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวน 2 คน คัดกรองบทคัดย่อ, การศึกษาฉบับเต็ม และบันทึก ประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐาน และดึงข้อมูล อย่างอิสระต่อกัน เราใช้ a random-effects model ในการวิเคราะห์เมตต้า และอัตราส่วนความเสี่ยง (RRs) สำหรับผลลัพธ์แบบ dichotomous และความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (MDs) สำหรับผลลัพธ์ที่เป็นข้อมูลต่อเนื่อง ใช้ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) โดยใช้เครื่องมือ “Risk of Bias” ของ Cochrane เพื่อประเมินความเสี่ยงของการมีอคติ และประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐานโดยวิธี GRADE

ผลการวิจัย: 

เราได้รวมงานวิจัยแบบ RCT ไว้ 9 รายการ ที่สุ่มตัวอย่างจากทั้งหมด 979 คน เฉพาะที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2 ระยะเวลาการวิจัยอยู่ระหว่าง 4 ถึง 10 เดือน เราไม่ได้ตัดสินว่าการทดลองเหล่านี้มีความเสี่ยงของการมีอคติต่ำสำหรับโดเมน "Risk of bias" ทั้งหมด การทดลองที่รวมอยู่ส่วนใหญ่ไม่ได้รายงานวิธีการสุ่ม

การทดลอง 3 รายการ เปรียบเทียบผลของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มี NNS กับน้ำตาล: glycosylated hemoglobin A1c (HbA1c) สูงกว่ากลุ่ม NNS 0.4% (95% CI −0.5 ถึง 1.2; P = 0.44; การทดลอง 3 รายการ; ผู้เข้าร่วม 72 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำมาก) ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (MD) ในการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักคือ −0.1 กก. (95% CI −2.7 ถึง 2.6; P = 0.96; การทดลอง 3 รายการ; ผู้เข้าร่วม 72 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำมาก) ไม่มีการทดลองที่มีน้ำตาลที่เป็นตัวเปรียบเทียบรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

การทดลอง 5 รายการ เปรียบเทียบ NNS กับยาหลอก ค่า MD สำหรับ HbA1c คือ 0%, 95% CI −0.1 ถึง 0.1; P = 0.99; 4 การทดลอง; ผู้เข้าร่วม 360 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำมาก) ค่า 95% prediction interval อยู่ระหว่าง −0.3% ถึง 0.3% การเปรียบเทียบ NNS เทียบกับยาหลอกพบว่ามีความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (MD ) ในน้ำหนักตัว −0.2 กก., 95% CI −1 ถึง 0.6; P = 0.64; 2 การทดลอง; ผู้เข้าร่วม 184 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำมาก การทดลอง 3 รายการ รายงานจำนวนผู้เข้าร่วมที่ประสบกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ไม่ร้ายแรงอย่างน้อย 1 เหตุการณ์: ผู้เข้าร่วม 36/113 คน (31.9%) ในกลุ่ม NNS เทียบกับผู้เข้าร่วม 42/118 คน (35.6%) ในกลุ่มยาหลอก (RR 0.78, 95% CI 0.39 ถึง 1.56; P = 0.48; 3 การทดลอง; ผู้เข้าร่วม 231 คน;หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำมาก)

การทดลอง 1 รายการ เปรียบเทียบ NNS กับสารให้ความหวานแคลอรี่ต่ำที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (tagatose) HbA1c สูงกว่ากลุ่ม NNS 0.3% (95% CI 0.1 ถึง 0.4; P = 0.01; 1 การทดลอง; ผู้เข้าร่วม 354 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำมาก) การทดลองนี้ไม่ได้รายงานข้อมูลน้ำหนักตัวและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

ยังขาดข้อมูลคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน อัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

บันทึกการแปล: 

บันทึกการแปล CD012885.pub2

Tools
Information