ยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาการแท้งติดเชื้อ

บทนำ

การแท้งติดเชื้อ คือ การแท้งบุตรร่วมกับมีภาวะติดเชื้อหลังการแท้งตามธรรมชาติหรือการทำแท้ง อาการที่แสดงว่าอาจจะเกิดการแท้งติดเชื้อคือมีไข้ ยาปฏิชีวนะมีความสำคัญต่อการรักษาการแท้งติดเชื้ออย่างมาก วิธีการรักษาที่แนะนำให้ใช้ คือ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่มีผลออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลากหลายชนิด อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ยอมรับว่ายาปฏิชีวนะใดมีประสิทธิผลมากที่สุดในการรักษาการแท้งติดเชื้อ ทั้งแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะแบบชนิดเดียวหรือการใช้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดร่วมกัน

ลักษณะทั่วไปของการทดลอง

การทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ได้รวบรวมผลการศึกษาจากงานวิจัยขนาดเล็กจำนวน 3 เรื่อง ทำการศึกษาในสตรีที่เกิดการแท้งติดเชื้อจำนวน 233 คน งานวิจัยแรกทำการศึกษาโดยการเปรียบเทียบ Clindamycin กับ Penicillin ร่วมกับ Chloramphenicol งานวิจัยที่สองศึกษา Penicillin ร่วมกับ Chloramphenicol เปรียบเทียบกับ Cephalothin ร่วมกับ Kanamycin และงานวิจัยที่สามเปรียบเทียบผลของ Tetracycline enzyme-based กับ Penicillin G ทางหลอดเลือดดำ

ผลการศึกษา

หลักฐานที่เราพบยังไม่ชัดเจนว่า clindamycin อย่างเดียวรักษาการแท้งติดเชื้อได้ดีกว่า Penicillin ร่วมกับ Chloramphenicol ในทำนองเดียวกันหลักฐานดังกล่าวยังไม่สามารถสรุปได้ว่า penicillin ร่วมกับ Chloramphenicol ให้ผลดีกว่า Cephalothin ร่วมกับ Kanamycin ในการรักษาการแท้งติดเชื้อ นอกจากนี้ยังพบว่าผลของการรักษาโดยการขูดมดลูกก่อนการให้ยาปฏิชีวนะไม่ดีกว่าการขูดมดลูกหลังการให้ยาปฏิชีวนะ Tetracycline-enzyme antibiotic ทำให้สตรีมีไข้ลดลงเร็วกว่า Penicillin G ที่ให้ทางหลอดเลือดดำ

สรุปผล

หลักฐานที่พบจากรายงานการทดลองขนาดเล็ก 3 เรื่องซึ่งนำเสนอผลของการใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้ในการรักษาแล้ว ยังไม่เพียงพอที่จะนำไปเปลี่นแปลงแนวทางการรักษาการแท้งติดเชื้อที่ใช้อยู่ได้ แต่อย่างไรก็ตามการให้ยาปฏิชีวนะแบบหลายชนิดร่วมกันในสตรีที่เกิดการแท้งติดเชื้อรวมทั้งสตรีที่ติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดอาจจะช่วยลดไข้ได้เร็วกว่าการให้ยาปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียว มีเพียงหนึ่งการศึกษาที่รายงานประสบการณ์ที่เป็นอันตรายจากการรักษาโดยพบว่า สตรีที่ได้รับ Clindamycin สองคนล้มเหลวในการรักษา และ สตรีหนึ่งคนเกิดอาการแพ้ยา นอกจากนี้สตรีสองคนที่ได้รับ Clindamycin เกิดฝีที่บริเวณเชิงกราน เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีที่ได้รับ Penicillin ร่วมกับ Chloramphenicol เกิดฝีเพียงคนเดียว แต่อย่างไรก็ตามความแตกต่างดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญ ข้อจำกัดของรายงานการทบทวนวรรณกรรมนี้คือ เป็นการรวบรวมจากรายงานการศึกษาขนาดเล็ก 3 รายงาน ที่ศึกษามานานกว่า 30 ปี

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

หลักฐานที่เราพบยังไม่ชัดเจนว่าการให้ clindamycin ทางหลอดเลือดดำอย่างเดียวให้ผลดีกว่า penicillin ร่วมกับ Chloramphenicolในการรักษาสตรีแท้้งติดเชื้อ ทำนองเดียวกันหลักฐานที่มีอยู่ไม่แนะนำว่า penicillin ร่วมกับ chloramphenicol ดีกว่า cephalothin ร่วมกับ kanamycin ในการรักษาสตรีแท้งติดเชื้อ พบว่าการให้ยาปฏิชีวนะTetracycline-enzyme มีประสิทธิผลมากกว่าการให้ penicillin G ทางหลอดเลือดดำในการลดระยะเวลาที่หายไข้ แต่หลักฐานนี้ได้จากการศึกษาเพียง 1 เรื่องที่มีความเสี่ยงของการเกิดอคติต่ำ

มีความจำเป็นต้องทำการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบซึ่งมีคุณภาพสูงเพื่อให้หลักฐานการรักษาการแท้งติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะที่ใช้ในปัจจุบัน การศึกษาทั้งสามเรื่องที่ได้รวบรวมนำเข้าได้ดำเนินการมานานมากกว่า 30 ปีที่ผ่านมา มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาในสถาบันที่มาจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อย อาทิเช่น กลุ่มประเทศใน sub-Saharan Africa, Latin America, the Caribbean, และ South Asia ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้มีอุบัติการณ์ของการแท้งสูงและเป็นปัญหาที่ท้าทายของระบบบริการสุขภาพ

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การแท้งติดเชื้อหมายถึงการแท้ง (ที่เกิดขึ้นเองหรือจากการทำแท้ง) ที่มีการติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธ์ุส่วนบน ซึ่งรวมถึง endometritis หรือ parametritis หลักการสำคัญของการรักษาการแท้งติดเชื้อคือ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียว หรือร่วมกับการเอาส่วนของการตั้งครรภ์ที่ค้างอยู่ออก หลักการให้ยาประกอบด้วยยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้าง (broad-spectrum) ได้รับการแนะนำให้เป็นการรักษาพื้นฐาน อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าวิธีการรักษาโดยการให้ยาปฏิขีวนะอย่างเดียวหรือการให้ยาปฏิขีวนะร่วมกับหลายอย่าง อะไรจะให้ประสิทธิผลมากที่สุด การทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ต้องการหาข้อสรุปในการรักษาดังกล่าวเพื่อเป็นข้อมูลให้กับแนวนโยบายและแนวปฏิบัติ

วัตถุประสงค์: 

เพื่อทบทวนประสิทธิผลของการใช้ยาปฏิชีวนะหลากหลายชนิดหรือหลากหลายสูตรในการรักษาการแท้งติดเชื้อ

วิธีการสืบค้น: 

พวกเราได้สืบค้นในฐาน Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL), MEDLINE, EMBASE, LILACS, และ POPLINE โดยใช้คำค้นดังนี้ 'Abortion', 'septic abortion', 'Antibiotics', 'Infected abortion', 'postabortion infection' และได้สืบค้นจาก the World Health Organization International Clinical Trials Registry Platform (WHO ICTRP) และ ClinicalTrials.gov อีกด้วย สำหรับการทดลองที่ยังดำเนินการอยู่ โดยการสืบค้นดำเนินการถึงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรากำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกรายงานวิจัย คือ เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ และ การศึกษาที่ไม่ใช่การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ ซึงเปรียบเทียบผลของการรักษาการแท้งติดเชื้อระหว่างยาปฏิชีวนะโดยไม่จำกัดชนิด วิธีการหรือช่องทางในการให้ยา รวมทั้งปริมาณ และระยะเวลาในการให้ ตลอดจนการศึกษาที่เปรียบเทียบผลของการักษาระหว่างยาปฏิชีวนะอย่างเดียว เปรียบเทียบกับการให้ร่วมกับการรักษาโดยวิธีอื่นๆ เช่น การขูดมดลูก

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ประพันธ์การทบทวน 2 คนดึงข้อมูลจากรายงานการทดลองที่รวบรวมนำเข้าอย่างอิสระต่อกัน พวกเราแก้ปัญหากรณีมีความเห็นไม่ตรงกันโดยปรึกษากับผู้ประพันธ์การทบทวนคนที่ 3 ผู้ประพันธ์การทบทวนหนึ่งคนดำเนินการกรอกข้อมูลลงในโปรแกรม Review Manager 5.3 และผู้ประพันธ์การทบทวนคนที่สองดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่กรอก

ผลการวิจัย: 

พวกเราได้รวบรวมนำเข้ารายงานการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบขนาดเล็กจำนวน 3 เรื่องศึกษาในสตรีจำนวน 233 คน ซึ่งได้ดำเนินการมากกว่า 3 ทศวรรศที่ผ่านมา

Clindamycin ลดไข้ในสตรีทั้งหมดแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญจาก Penicillin ร่วมกับ Chloramphenicol (ค่าเฉลี่ยความแตกต่าง (MD) -12.30, 95% ช่วงความเชื่อมั่น (C)I -25.12 ถึง 0.52; สตรี= 77; 1 การศึกษา) หลักฐานที่ได้นี้มีคุณภาพปานกลาง "การตอบสนองต่อการรักษาประเมินจากค่าดัชนีไข้ของผู้ป่วยเป็นองศา-ชั่วโมงและได้นิยามค่าดังกล่าวเป็นปริมาณไข้ทั้งหมดโดยการวัดอุณหภูมิประจำวันทีมีค่า 99 องศาฟาเรนไฮน์ (37.2 องศาเซลเซียส) เป็นค่าพื้นฐาน"

ระยะเวลาการพักรักษาในโรงพยาบาลระหว่างกลุ่ม Clindamycin และกลุ่ม Penicillin plus Chloramphenicol ไม่แตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาลในแต่ละกลุ่มเท่ากับ 5 วัน (MD 0.00, 95% CI -0.54 to 0.54; สตรี 77; 1 การศึกษา)

มีหนึ่งการศึกษาทีประเมินผลของ Penicillin ร่วมกับ Chloramphenicol เปรียบเทียบกับ Cephalothin ร่วมกับ Kanamycin ก่อนและหลังการขูดมดลูก การตอบสนองต่อการรักษาประเมินจาก"ระยะเวลาเริ่มต้นของการให้ยาปฏิชีวนะจนกระทั่งหายไข้ และระยะเวลาจากการขูดมดลูกจนกระทั่งผู้ป่วยไม่มีไข้" หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำได้แนะนำว่าผลของ Penicillin ร่วมกับ Chloramphenicol ที่มีต่ออาการไข้ไม่แตกต่างจาก Cephalothin ร่วมกับ Kanamycin (MD -2.30, 95% CI -17.31 ถึง 12.71; สตรี 56; 1 การศึกษา) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่าง penicillin ร่วมกับ chloramphenicolเปรียบเทียบกับ cephalothin ร่วมกับ kanamycin เมื่อมีการขูดมดลูกในช่วงการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ (MD -1.00, 95% CI -13.84 ถึง 11.84; สตรี 56; 1 การศึกษา) คุณภาพของหลักฐานต่ำ

มีหนึ่งการศึกษาที่มีความเสี่ยงของการมีอคติไม่ชัดเจนซึ่งได้นำเสนอระยะเวลาจนหายไข้(MD -5.03, 95% CI -5.77 ถึง -4.29; สตรี 100; 1 การศึกษา) และระยะเวลาจนการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาวหายไป (MD -4.88, 95% CI -5.98 ถึง -3.78; สตรี 100; 1 การศึกษา) ซึ่งต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่ม Tetracycline-enzyme เปรียบเทียบกับกลุ่ม Penicillin G ที่ให้ทางหลอดเลือดดำ

ความล้มเหลวของการรักษาและเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นมีไม่บ่อย และความแตกต่างดังกล่าวระหว่างกลุ่มไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

บันทึกการแปล: 

บทคัดย่อและบทสรุปในภาษาธรรมดาเรื่องนี้แปลโดย นายศิวานนท์ รัตนะกนกชัย ตรวจสอบและปรับแก้โดย นางมาลินี เหล่าไพบูลย์ และนางสาวน้ำเพชร จำปาทอง ภาควิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Tools
Information