การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้ออย่างรวดเร็วระหว่างมารดาและทารกที่มีสุชภาพดี

ประเด็นปัญหาคืออะไร

หลังคลอดเด็กทารกมักถูกแยกจากมารดา การดูแลตามมาตรฐานของโรงพยาบาล ทารกแรกเกิดมักได้รับความอบอุ่นโดยการห่อตัว การโอบกอดของมารดา การให้ทารกนอนในเตียงนอนเด็ก หรือให้นอนใต้เครื่องให้ความอบอุ่น การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ คือ การให้ทารกได้สัมผัสกับอกของมารดาโดยไม่มีสิ่งห่อหุ้มร่างกายหลังคลอดทันทีหรือหลังคลอดไม่นาน การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อทันที คือ ภายใน 10 นาทีหลังคลอด ส่วนการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้ออย่างรวดเร็ว คือ ภาย 10 นาทีหลังคลอดจนถึง 24 ชั่วโมงหลังคลอด เราต้องการทราบว่าการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อทันทีหรืออย่างรวดเร็วสามารถเพิ่มความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่ และสามารถเพิ่มความสามารถในการปรับตัวของทารกสู่โลกภายนอกได้หรือไม่

ทำไมเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ

เป็นที่ทราบกันดีว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อมารดาและทารก การศึกษาครั้งนี้ต้องการทราบถึงประโยชน์ของการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อทันทีหรืออย่างรวดเร็วต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยแม่ การสัมผัสกันอย่างรวดเร็วอาจช่วยทำให้ทารกได้รับความอบอุ่น ทำให้จิตใจสงบ และช่วยเพิ่มความคุ้นเคยต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกมดลูก

เราพบหลักฐานอะไร

เราสืบค้นงานวิจัยที่เป็นการศึกษาเชิงทดลองที่มีการสุ่มคนเข้ากลุ่ม ที่ศึกษาเกี่ยวกับการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อทันทีและอย่างรวดเร็วจนถึงวันที่ 17 ธันวาคม 2558 เราพบงานวิจัยทั้งหมด 38 งานวิจัย กลุ่มที่ศึกษาจำนวน 3472 คน งานวิจัยส่วนมากเปรียบเทียบการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้ออย่างรวดเร็วกับการดูแลตามมาตรฐานของโรงพยาบาล ศึกษาในมารดาที่มีสุขภาพดีและทารกที่คลอดครบกำหนดอายุครรภ์ พบ 8 งานวิจัยที่มารดาคลอดบุตรโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และ 6 งานวิจัยที่ศึกษาในกลุ่มทารกที่คลอดก่อนกำหนดแต่มีสุขภาพดี อายุครรภ์ตั้งแต่ 35 สัปดาห์ขึ้นไป มารดาส่วนมากที่ได้สัมผัสเนื้อแนบเนื้อกับบุตร ได้เลี้ยงทารกด้วยนมแม่ตั้งแต่ 1 ถึง 4 เดือน หลังคลอด (ผลจาก 14 งานวิจัย มารดาจำนวน 887 คน คุณภาพของหลักฐานที่พบอยู่ในระดับปานกลาง) มารดาที่ได้สัมผัสเนื้อแนบเนื้อกับทารกจะเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมของตนเองระยะเวลานานกว่า โดยเฉลี่ยจะมากกว่า 60 วัน (ผลจาก 6 งานวิจัย มารดาจำนวน 264 คน คุณภาพของหลักฐานที่พบอยู่ในระดับต่ำ) ทารกที่ได้รับการสัมผัสเนื้อแนบเนื้อกับมารดาส่วนมากจะมีความสำเร็จของการกินนมแม่ในครั้งแรก (ผลจาก 5 งานวิจัย มารดาจำนวน 575 คน) ทารกที่ได้รับการสัมผัสเนื้อแนบเนื้อจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า (ผลจาก 3 งานวิจัย มารดาจำนวน 144 คน คุณภาพของหลักฐานที่พบอยู่ในระดับต่ำ)แต่พบว่าอุณหภูมิกายไม่แตกต่างจากทารกที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน (ผลจาก 6 งานวิจัย มารดาจำนวน 558 คน คุณภาพของหลักฐานที่พบอยู่ในระดับต่ำ) เรามีจำนวนของทารกจากงานวิจัยที่นำเข้ามาศึกษาค่อนข้างน้อย และคุณภาพของหลักฐานที่พบอยู่ในระด่ำ จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากในการวิเคราะห์ผลการศึกษาสำหรับทารก

มารดาที่คลอดบุตรโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องอาจเป็นประโยชน์ต่อกการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้ออย่างรวดเร็วมากกว่า และพบว่าหญิงตั้งครรภ์ส่วนมากประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะเวลาตั้งแต่ 1 ถึง 4 เดือน (ผลจาก 14 งานวิจัย มารดาจำนวน 887 คน คุณภาพของหลักฐานที่พบอยู่ในระดับปานกลาง) แต่หลักฐานที่พบมีจำนวนของมารดาไม่เพียงพอจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากในการวิเคราะห์ผลการศึกษา

เราพบว่าประโยชน์ที่เกิดจากการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อทันทียังไม่ชัดเจนเท่ากับการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อหลังจากที่นำทารกไปทำความสะอาดและตรวจร่างกายแล้ว เราไม่พบว่าการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อของมารดาและทารกในระยะเวลายาวนานจะเกิดประโยชน์ (มากกว่า 1 ชั่วโมง) เมื่อเปรียบเทียบกับการสัมผัสน้อยกว่า 1 ชั่วโมง การศึกษาเชิงทดลองในอนาคตควรมีจำนวนมารดาและทารกมากขึ้น อาจช่วยให้คำตอบที่ได้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อระหว่างมารดาและทารกมีคำนิยามที่หลากหลาย มีวิธีการวัดและระยะเวลาที่แตกต่างกัน มารดาและบุคลากรทางการแพทย์ต่างรู้ว่าตนเองกำลังอยู่ในระหว่างการเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัย มารดาที่อยู่ในกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานได้รับการส่งเสริมการให้นมที่หลากหลาย ความแตกต่างดังกล่าวทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างงานวิจัยอย่างมาก และทำให้คุณภาพของหลักฐานที่พบอยู่ในระดับต่ำ งานวิจัยส่วนมากมีขนาดตัวอย่างน้อย พบว่ามีจำนวนน้อยกว่า 100 คน

หมายความว่าอย่างไร

หลักฐานที่พบจากการทบทวนวรรณกรรมที่ปรับปรุงให้ทันสมัยสามารถนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อแบบทันทีและรวดเร็ว การสัมผัสใกล้ชิดระหว่างมารดาและทารกเป็นเรื่องที่สำคัญเนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยให้ทารกไม่เจ็บป่วยและมีสุขภาพที่ดี มารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องอาจเป็นประโยชน์ต่อการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้ออย่างรวดเร็ว แต่เราต้องการงานวิจัยที่มากกว่านี้เพื่อยืนยันผลการศึกษาดังกล่าว เรายังไม่รู้ว่าการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้ออย่างรวดเร็วในเด็กทารกที่มีสุขภาพดีจะช่วยให้เกิดการปรับตัวของทารกสู่โลกภายนอกได้อย่างราบรื่นหรือไม่ ในอนาคตหากมีงานวิจัยที่มีคุณภาพดีอาจช่วยทำให้เข้าใจได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามพวกเรามีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพงานวิจัย และเราไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับความเสี่ยงจากงานวิจัยที่นำเข้า เราจึงว่าหลักฐานที่พบสนับสนุนว่าการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้ออย่างรวดเร็วเป็นการดูแลที่สามารถปฏิบัติได้สำหรับเด็กทารกที่มีสุขภาพดีรวมถึงทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและทารกที่คลอดตั้งแต่ตั้งอายุครรภ์ 35 สัปดาห์

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

หลักฐานนี้สนับสนุนให้ใช้การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การศึกษาในอนาคตควรมีขนาดตัวอย่างที่ใหญ่เพียงพอเพื่อยืนยันผลทางสรีรวิทยาของทารกระหว่างคลอดจนมีชีวิตออกมาสู่ภายนอกมดลูก และแสดงให้เห็นถึงผลตอบสนองและระยะเวลาเริ่มต้นที่เหมาะสม คุณภาพของระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษายังคงเป็นปัญหา และการศึกษาขนาดเล็กนำเสนอผลลัพธ์ที่แตกต่างโดยแตกต่างที่สเกลการวัดและมีข้อจำกัดของข้อมูล ซึ่งนั่นทำให้เกิดข้อจำกัดในความน่าเชื่อถือถึงประโยชน์ในการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อสำหรับทารก ผลการทบทวนวรรณกรรมของเรานำเข้าเฉพาะการศึกษาที่ทารกมีสุขภาพดี โดยจำกัดลักษณะทางสุขภาพ ซึ่งนั่นทำให้การแปลความหมายมีความซับซ้อน

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การแยกกันระหว่างมารดาและทารกหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น การดูแลตามมาตรฐานของโรงพยาบาล ทารกแรกเกิดมักได้รับความอบอุ่นโดยการห่อตัว การโอบกอดของมารดา การให้ทารกนอนในเตียงนอนเด็ก หรือให้นอนใต้เครื่องให้ความอบอุ่น ตามทฤษฎีแล้วการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อควรเริ่มหลังคลอดและควรทำอย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครั้งแรก การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ คือ การวางทารกตัวเปล่าที่ได้รับการเช็ดตัวให้แห้งแล้วไว้บนหน้าอกของมารดาในท่านอนคว่ำและห่อตัวด้วยผ้าห่ม ตามที่นักประสาทวิทยาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้กล่าวว่า การสัมผัสกันอย่างใกล้ชิดสามารถกระตุ้นระบบประสาทและพฤติกรรมเพื่อเติมเต็มความต้องการพื้นฐานทางชีวภาพ ในช่วงเวลาหลังคลอดทันทีนับเป็บช่วงเวลาที่ทารกไวต่อสิ่งกระตุ้นสำหรับการกำหนดกระบวนการทำงานของอวัยวะในร่างกายและพฤติกรรม

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อทันทีหรืออย่างรวดเร็วในทารกแรกเกิดที่มีสุขภาพดีเปรียบเทียบกับการสัมผัสตามปกติต่อการเริ่มและการรักษาสภาพของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และกระบวนการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายของทารก

วิธีการสืบค้น: 

เราได้สืบค้นงานวิจัยเชิงทดลองในฐานข้อมูลของกลุ่ม Cochrane Pregnancy and Childbirth จนถึงวันที่ 17 ธันวาคม 2015 ได้ติดต่อกับเจ้าของงานวิจัย และได้ขอรับคำปรึกษา Dr Susan Ludington เกี่ยวกับบรรณานกุรมของการโอบกอดแบบจิงโจ้ และทบทวนรายการอ้างอิงของการศึกษาที่ได้รับ

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การศึกษาเชิงทดลองที่มีการสุ่มคนเข้ากลุ่มดังกล่าวเปรียบเทียบระหว่างการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อแบบทันทีหรืออย่างรวดเร็วกับการดูแลตามมาตรฐานของโรงพยาบาล

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้วิจัย 2คนได้ทำการประเมินงานวิจัยอย่างเป็นอิสระต่อกันในการคัดเข้า และการประเมินความเสี่ยง การคัดแยกข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้อง ประเมินคุณภาพของหลักฐานที่ได้โดยวิธีการของเกรด (GRADE)

ผลการวิจัย: 

เรานำเข้าการศึกษาจำนวน 46 เรื่อง มารดาและทารกจำนวน 3850 คนและบุตรของหญิงตั้งครรภ์ การศึกษาของเราได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาจำนวน 38 เรื่อง มารดาและทารกจำนวน 3472 คน ดำเนินการศึกษาใน 21 ประเทศ การศึกษาที่นำเข้าส่วนใหญ่มีจำนวนขนาดตัวอย่างน้อย (การศึกษาจำนวน 12 เรื่องมีจำนวนหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 100 คน) 8 งานวิจัยที่คัดมารดาที่ได้สัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ทารกทั้งหมดที่นำเข้าการศึกษามีสุขภาพดี ส่วนใหญ่เป็นทารกที่คลอดครบกำหนด 6 งานวิจัยศึกษาในทารกที่คลอดก่อนกำหนดหลังอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ การศึกษาที่นำเข้าไม่มีการศึกษาใดเลยที่คุณภาพด้านระเบียบวิธีวิจัย และการรายงานผลอยู่ในระดับดี ไม่มีการศึกษาใดเลยที่ประสบความสำเร็จในการปกปิดกลุ่มตัวอย่าง และผลการวิเคราะห์ทั้งหมดมีความไม่ชัดเจนเนื่องจากมีขนาดตัวอย่างน้อย ผลการวิเคราะห์จากแต่ละรายงานวิจัยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเนื่องจากมีความแตกต่างกันระหว่างการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อกับการดูแลตามมาตรฐาน

ผลการศึกษาของมารดา

มารดาส่วนมากที่ได้สัมผัสเนื้อแนบเนื้อกับบุตร ได้เลี้ยงทารกด้วยนมแม่ตั้งแต่ 1 ถึง 4 เดือน หลังคลอดมากกว่ากลุ่มที่การดูแลตามมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามีความไม่ชัดเจนถึงค่าการประมาณเนื่องจากอคติของงานวิจัยที่นำเข้า (risk ratio (RR) 1.24, 95% CI 1.07 ถึง 1.43; จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 887 คน; จำนวนงานวิจัย 14 งานวิจัย; I² ร้อยละ 41; การประเมิน GRADE: คุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง) นอกจากนี้มารดาที่ได้สัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อได้ให้ทารกกินนมแม่ยาวนานกว่า อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดของข้อมูล (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (MD) 64 วัน, 95% CI 37.96 ถึง 89.50; จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 264 คน; จำนวนงานวิจัย 6 งานวิจัย; การประเมิน GRADE คุณภาพอยู่ในระดับต่ำ); ผลการศึกษานี้ได้จากการวิเคราะห์ความไวโดยการนำผลการศึกษาออก 1 การศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาที่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในผลลัพธ์หลัก มารดาที่ได้สัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อมีโอกาสที่จะเข้าให้นมทารกอย่างเดียว (exclusively breastfeed) ตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลจนถึง 1 เดือนหลังคลอด และจาก 6 สัปดาห์จนถึง 6 เดือนหลังคลอด อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์ทั้งสองอย่างมีความแตกต่างระหว่างงานวิจัยที่นำเข้าค่อนข้างมาก (ตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาล RR 1.30, 95% CI 1.12 ถึง 1.49; จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 711 คน; จำนวนงานวิจัย 6 งานวิจัย; I² ร้อยละ 44; การประเมิน GRADE: คุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง; ตั้งแต่ 6 สัปดาห์ RR 1.50, 95% CI 1.18 ถึง 1.90; จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 640 คน; จำนวนงานวิจัย 7 งานวิจัย; I² ร้อยละ 62; การประเมิน GRADE: คุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง)

มารดาที่ได้สัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อมีค่าเฉลี่ยคะแนนประสิทธิผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่า ความแตกต่างระหว่างงานวิจัยอยู่ในระดับปานกลาง (ประเมินโดยใช้แบบประเมิน Infant Breastfeeding Assessment Tool: IBFAT) MD 2.28, 95% CI 1.41 ถึง 3.15; จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 384 คน; จำนวนงานวิจัย 4 งานวิจัย; I² ร้อยละ 41) การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อช่วยให้ทารกประสบความสำเร็จในการกินนมแม่ครั้งแรก ความแตกต่างระหว่างงานวิจัยอยู่ในระดับสูง (RR 1.32, 95% CI 1.04 ถึง 1.67; จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 575 คน; จำนวนงานวิจัย 5 งานวิจัย; I² ร้อยละ 85)

ผลการศึกษาของทารก

ทารกที่ได้รับการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อมีคะแนนภาพรวมของความคงที่ของระบบหัวใจและระบบหายใจที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ยังมีจำนวนทารกค่อนข้างน้อย และผลนัยสำคัญของผลลัพธ์ทางคลินิกที่ทดสอบได้ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากแต่ละงานวิจัยนำเสนอระยะเวลาหลากหลายค่า (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมาตรฐาน standardized mean difference (SMD) 1.24, 95% CI 0.76 ถึง 1.72; จำนวนกลุม่ตัวอย่าง 81 คน; จำนวนงานวิจัย 2 งานวิจัย; การประเมิน GRADE คุณภาพอยู่ในระดับต่ำ) ทารกที่ได้รับการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อมีค่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่า (MD 10.49, 95% CI 8.39 ถึง 12.59; จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 144 คน; จำนวนงานวิจัย 3 งานวิจัย; การประเมิน GRADE: คุณภาพอยู่ในระดับต่ำ) แต่พบว่าอุณหภูมิกายไม่แตกต่างจากทารกที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน (MD 0.30 องศาเซลเซียส (°C) 95% CI 0.13 ถึง 0.47 องศาเซลเซียส °C; จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 558 คน; จำนวนงานวิจัย 6 งานวิจัย; I² ร้อยละ 88, การประเมิน GRADE: คุณภาพอยู่ในระดับต่ำ)

มารดาและทารกหลังคลอดโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

มารดาที่ได้รับการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมีโอกาสที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 1 ถึง 4 เดือนหลังคลอด และประสบความสำเร็จในการให้นมแม่ (ประเมินโดย IBFAT score) แต่ผลการวิเคราะห์นี้มาจากผลการวิจัยจาก 2 งานวิจัย และมีขนาดตัวอย่างน้อย หลักฐานที่พบไม่เพียงพอที่จะอธิบายว่าการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อสามารถเพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงเวลาอื่นหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง 1 การศึกษาพบว่าทารกมีอัตราการหายใจ อาการปวดของมารดา และความวิตกกังวลของมารดาโดยไม่มีอำนาจในการทดสอบเพื่อตรวจสอบความแตกต่างของกลุ่ม

การวิเคราะห์กลุ่มย่อย

เราพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในทุกผลลัพธ์ เมื่อเราทำการเปรียบเทียบระยะเวลาในการเริ่ม (ทันที คือ น้อยกว่า 10 นาทีหลังคลอด เปรียบเทียบกับ อย่างรวดเร็ว คือ มากกว่าหรือเท่ากับ 10 นาทีหลังคลอด) หรือระยะเวลาของการสัมผัส (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 นาทีหลังคลอด เปรียบเทียบกับมากกว่า 60 นาทีหลังคลอด)

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล นายศิวานนท์ รัตนะกนกชัย ตรวจสอบและปรับแก้โดย ศ.ดร.มาลินี เหล่าไพบูลย์ ภาควิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Tools
Information