การรักษาโพแทสเซียมมีประสิทธิภาพในการลดโพแทสเซียมเกินผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังหรือไม่

ปัญหาคืออะไร

ระดับโพแทสเซียมสูง (เกลือในร่างกาย) เกิดจากโรคไตเรื้อรัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของกล้ามเนื้อรวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจ และทำให้เกิดปัญหากับจังหวะการเต้นของหัวใจที่อาจเป็นอันตราย การล้างไตสามารถกำจัดโพแทสเซียมออกจากเลือดได้ แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายยังคงมีระดับสูงได้ ผู้ป่วยไตวายรุนแรงที่ยังไม่ได้เริ่มล้างไต อาจมีระดับโพแทสเซียมสูง การรักษามีมานานหลายปี แต่อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกและไม่สบายท้อง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากทนไม่ได้ มีการพัฒนาการรักษาแบบใหม่รวมถึงการใช้ patiromer และ sodium zirconium cyclosilicate อาจช่วยให้ทนได้มากกว่า แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจได้หรือไม่

เราทำอะไร

เราค้นหาการวิจัยทั้งหมดที่มีการประเมินวิธีลดโพแทสเซียมสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง เราประเมินความเชื่อมั่นของผลการศึกษาโดยใช้ระบบ "GRADE"

เราค้นพบอะไร

มีการศึกษาจำนวน 15 เรื่อง มีผู้เข้าร่วมได้รับการสุ่มเป็นผู้ใหญ่ 1849 คน ผู้ป่วยในการศึกษาได้รับสารจับโพแทสเซียมหรือยาหลอก หรือการดูแลตามมาตรฐาน จัดเข้ากลุ่มการรักษาโดยวิธีสุ่ม เป็นการศึกษาระยะสั้นช่วงเป็นวันถึงสัปดาห์ มุ่งเน้นไปที่ระดับโพแทสเซียม ไม่สามารถวัดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับหัวใจเนื่องจากระยะเวลาศึกษาสั้น จากการวิจัยที่มีอยู่ เราไม่สามารถแน่ใจได้ว่าสารจับโพแทสเซียมปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ไม่มีการศึกษาในเด็ก

บทสรุป

เราไม่แน่ใจเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่ดีที่สุดในการลดระดับโพแทสเซียมในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง เราต้องการข้อมูลเพิ่มเติม จากการศึกษาทางคลินิกที่มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ได้รับการรักษาเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

หลักฐานที่สนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก ในการใช้สารจับโพแทสเซียมที่แตกต่างกันในการรักษาภาวะโพแทสเซียมสูงเรื้อรังในผู้ใหญ่ CKD มีความเชื่อมั่นต่ำ; ไม่พบการศึกษาในเด็ก การศึกษาที่มีอยู่ยังไม่ได้ออกแบบเพื่อวัดผลการรักษาต่อผลลัพธ์ทางคลินิก เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรืออาการทางเดินอาหารที่สำคัญ การทบทวนนี้ ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาขนาดใหญ่พอในการเปรียบเทียบสารจับโพแทสเซียมกับยาหลอกที่ประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยแพทย์และผู้กำหนดนโยบาย ข้อมูลนี้ สามารถใช้ในการประเมินความคุ้มทุน ช่วยให้ทราบว่ายังขาดการศึกษาที่ชัดเจนและข้อมูลที่สำคัญทางคลินิกของสารจับโพแทสเซียมสำหรับภาวะโพแทสเซียมสูงเรื้อรังในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ภาวะโพแทสเซียมสูงเป็นความผิดปกติของ electrolyte จากการขับโพแทสเซียมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (CKD) ยาจับโพแทสเซียม เช่น Sodium polystyrene sulfonate และ Calcium polystyrene sulfonate ได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่อาจมีอาการท้องผูกและอาการทางเดินอาหารที่ไม่พึงประสงค์อื่น Patiromer และ Sodium zirconium cyclosilicate เป็นเรซินไอออนใหม่สำหรับรักษาภาวะโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของอาการทางเดินอาหารน้อยลง แม้ว่าการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้จะมุ่งเน้นไปที่อาการทางคลินิก เช่น ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจหรือการเสียชีวิต แต่หลักฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยยังมีจำกัด เมื่อพิจารณาถึงทางเลือกในการรักษาที่มีอยู่ ควรมีการทบทวนหลักฐานของประสิทธิผลและความทนทานของสารแลกเปลี่ยนเรซินกับโพแทสเซียมทั้งหมดในคนที่มีไตวายเรื้อรัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภค ผู้ปฏิบัติงานและผู้กำหนดนโยบาย

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประโยชน์และอันตรายของสารจับโพแทสเซียมในการรักษาภาวะโพแทสเซียมสูงเรื้อรังในผู้ใหญ่และเด็กที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง

วิธีการสืบค้น: 

เราได้สืบค้นใน Cochrane Kidney และ Transplant Specialised Register จนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2020 ผ่านการติดต่อกับInformation Specialist โดยใช้คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนนี้ สืบค้นในฐานข้อมูลดังนี้ CENTRAL, MEDLINE และ EMBASE, เอกสารการประชุม และค้นหาใน International Clinical Trials Register (ICTRP), Search Portal และ ClinicalTrials.gov.

เกณฑ์การคัดเลือก: 

Randomised controlled trials (RCTs) และการศึกษาแบบ quasi-randomised controlled studies (quasi-RCTs) ประเมินสารจับโพแทสเซียมสำหรับภาวะโพแทสเซียมสูงเรื้อรังที่ให้ในผู้ใหญ่และเด็กที่มีโรคไตวายเรื้อรัง

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนประเมินความเสี่ยงของอคติ และดึงข้อมูลอย่างเป็นอิสระต่อกัน การประเมินผลการรักษาสรุปโดย random effects meta-analysis และนำเสนอโดย relative risk (RR) หรือ mean difference (MD) กับช่วงเชื่อมั่น 95% (CI) ประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐานโดยใช้กระบวนการ GRADE

ผลการวิจัย: 

การศึกษา 15 เรื่อง สุ่มผู้ใหญ่ที่เข้าเกณฑ์ 1849 คน การศึกษา 12 เรื่อง มีผู้เข้าร่วมเป็น CKD (ระดับ 1 ถึง 5) ไม่ต้องฟอกไตและการศึกษา 3 เรื่อง ผู้เข้าร่วมได้รับการการฟอกเลือด สารจับโพแทสเซียมประกอบด้วย Calcium polystyrene sulfonate, Sodium polystyrene sulfonate, patiromer และ Sodium zirconium cyclosilicate มีการบริหารรูปแบบ, ปริมาณและเวลาในการให้ยา ระยะเวลาการศึกษาแตกต่างกันจาก 12 ชั่วโมงถึง 52 สัปดาห์ (ค่ามัธยฐาน 4 สัปดาห์) การศึกษา 3 เรื่อง เป็นแบบ cross-over studies อายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมอยู่ระหว่าง 53.1 ปีถึง 73 ปี ไม่มีการศึกษาในเด็ก

บางการศึกษามีระเบียบวิธีวิจัยที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่ชัดเจนต่อความเสี่ยงของอคติซึ่งนำไปสู่ความเชื่อมั่นต่ำ การศึกษาไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวัดผลการรักษาต่อภาวะหัวใจเต้นผิดปกติหรืออาการทางระบบทางเดินอาหารที่สำคัญ

การศึกษา 10 เรื่อง (่สุ่มผู้เข้าร่วม 1367 ตน) เปรียบเทียบยาจับโพแทสเซียมกับยาหลอก ความเชื่อมั่นของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำถึงต่ำมาก เราจัดประเภทการรักษาด้วยสารใหม่ (patiromer หรือ sodium zirconium cyclosilicate) และสารที่เก่ากว่า (calcium polystyrene sulfonate และ sodium polystyrene sulfonate) Patiromer หรือ sodium zirconium cyclosilicate อาจมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีต่อการเสียชีวิต (จากสาเหตุใดๆ) (การศึกษา 4 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 688 คน: RR 0.69, 95% CI 0.11 ถึง 4.32; I2 = 0%; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) ใน CKD ไม่ทราบผลการรักษาของสารจับโพแทสเซียมแบบเก่าต่อการเสียชีวิต (จากสาเหตุใด ๆ) มีรายงานการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดหนึ่งกรณีด้วยสารจับโพแทสเซียมจากการศึกษา 1 เรื่อง แสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างระหว่าง patiromer หรือ sodium zirconium cyclosilicate และยาหลอกต่อการตายจากระบบหัวใจและหลอดเลือดใน CKD และ HD ไม่มีหลักฐานของความแตกต่างระหว่าง patiromer หรือ sodium zirconium cyclosilicate และยาหลอก ต่อคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (HRQoL) ในตอนท้ายของการรักษาใน CKD หรือ HD (การศึกษา 1 เรื่อง) สารจับโพแทสเซียมมีผลไม่แน่นอนกับอาการคลื่นไส้ (การศึกษา 3 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 229 คน: RR 2.10, 95% CI 0.65 ถึง 6.78; I2 = 0%; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ), ท้องร่วง (การศึกษา 5 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 720 คน: RR 0.84, 95% CI 0.47 ถึง 1.48; I2 = 0%; หลักฐานความไม่เชื่อมั่นต่ำต่ำ และอาเจียน (การศึกษา 2 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 122 คน: RR 1.72, 95% CI 0.35 ถึง 8.51; I2 = 0%; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) ใน CKD สารจับโพแทสเซียมอาจลดระดับโพแทสเซียมในเลือด (ในตอนท้ายของการรักษา) (การศึกษา 3 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 277 คน: MD -0.62 mEq/L, 95% CI -0.97 ถึง -0.27; I2 = 92%; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) ใน CKD และ HD สารจับโพแทสเซียมมีผลไม่แน่นอนกับภาวะท้องผูก (การศึกษา 4 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 425 คน: RR 1.58, 95% CI 0.71 ถึง 3.52; I2 = 0%; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) ใน CKD สารจับโพแทสเซียมอาจลดความดันโลหิต systolic (BP) (การศึกษา 2 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 369 คน: MD -3.73 mmHg, 95% CI -6.64 ถึง -0.83; I2 = 79%; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) และ diastolic BP (การศึกษา 1 เรื่อง) เมื่อสิ้นสุดการรักษา ไม่มีการรายงานข้อมูลภาวะหัวใจหยุดเต้นหรืออาการทางระบบทางเดินอาหารที่สำคัญ

เมื่อสิ้นสุดการรักษา Calcium polystyrene sulfonate อาจทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับ sodium polystyrene sulfonate (การศึกษา 2 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 117 คน: MD 0.38 mEq/L, 95% CI -0.03 ถึง 0.79; I2 = 42%; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) ไม่มีหลักฐานของความแตกต่างใน systolic BP (การศึกษา 1 เรื่อง), diastolic BP (การศึกษา 1 เรื่อง), หรืออาการท้องผูก (การศึกษา 1 เรื่อง) ระหว่าง calcium polystyrene sulfonate กับ sodium polystyrene sulfonate

ไม่มีความแตกต่างระหว่างปริมาณสูงและปริมาณต่ำ patiromer ต่อการเสียชีวิต (เสียชีวิตอย่างกะทันหัน) (การศึกษา 1 เรื่อง), โรคหลอดเลือดสมอง (การศึกษา 1 เรื่อง), กล้ามเนื้อหัวใจตาย (การศึกษา 1 เรื่อง) หรืออาการท้องผูก (การศึกษา 1 เรื่อง)

ผลการเปรียบเทียบสารจับโพแทสเซียมนี้ ให้โดยมีหรือไม่มีอาหาร, ยาระบายหรือ sorbitol มีความไม่แน่นอนอย่างมากเนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอที่จะทำ meta-analysis

บันทึกการแปล: 

แปลโดย เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2020

Tools
Information