การตรวจระดับโมเลกุลเพื่อตรวจหาการติดเชื้อในเด็กทารกแรกเกิด

คำถามในการทบทวน: การตรวจระดับโมเลกุลจะตรวจพบการติดเชื้อในทารกแรกเกิดได้ดีกว่าวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อด้วยวิธีมาตรฐานหรือไม่?

ความเป็นมา

วิธีการตรวจหาเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในเด็กทารกแรกเกิดคือการเก็บเลือดหรือของเหลวในร่างกาย (หรือทั้งสองอย่าง) และทำการเพาะเชื้อหาแบคทีเรียในห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้ออาจตรวจไม่พบการติดเชื้อบางชนิดและใช้เวลานานกว่าจะไ้ด้ผล (48 ถึง 72 ชั่วโมง) มีวิธีใหม่ในการตรวจหาเชื้อใช้วิธีการตรวจหาดีเอ็นเอ (โมเลกุลที่มีข้อมูลทางพันธุกรรมที่ใช้ในการเจริญเติบโต การพัฒนา การทำงานและการเจริญพันธุ์) ของเชื้อแบคทีเรียและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งเป็นผลจากความก้าวหน้าทางจุลชีววิทยาที่นำมาสู่การทดสอบวิธีใหม่โดยตรวจโมเลกุลเพื่อตรวจหาการติดเชื้อ การทดสอบทางโมเลกุลทำได้รวดเร็วและอาจตรวจพบการติดเชื้อได้มากกว่าวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อแบบเดิม

ลักษณะการศึกษา

ผู้รายงานค้นคว้าหาหลักฐานสำหรับการใช้การทดสอบทางโมเลกุลเพื่อตรวจหาการติดเชื้อในเด็กแรกเกิด พบว่ามีการศึกษา 35 เรื่องที่เปรียบเทียบวิธีการตรวจทาง่โมเลกุลกับวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อจากเลือดและน้ำไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ

แหล่งเงินทุนของการศึกษา

ไม่มี.

ผลการศึกษาที่สำคัญ

พบว่าวิธีการตรวจทางโมเลกุลอาจเป็นประโยชน์มากเพราะเป็นการตรวจที่่ได้ผลอย่างรวดเร็ว

คุณภาพของหลักฐาน

แม้ว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเลือกทารกแรกเกิดสำหรับการทบทวนนี้ แต่วิธีการทั้งหมดที่ใช้ในการศึกษาดีเพียงพอ ผู้ทบทวนให้คะแนนคุณภาพของหลักฐานว่าอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การวิเคราะห์ทางโมเลกุลมีประโยชน์ในแง่ที่ได้ผลรวดเร็วและอาจใช้ได้ดีเมื่อทำเพิ่มเติมจากการทดสอบด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อ ('add-on' test)

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การเพาะเชื้อเพื่อใช้ในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิดมีความไวต่ำและมีความล่าช้าในการรายงาน ความก้าวหน้าทางด้านจุลชีววิทยาโมเลกุลได้ทำให้เกิดการตรวจวิเคราะห์ทางโมเลกุลใหม่ ๆ ที่รวดเร็วและอาจทำให้ผลการรักษาทารกแรกเกิดดีขึ้น

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินความถูกต้องในการตรวจวินิจฉัยของวิธีการตรวจทางโมเลกุลชนิดต่างๆเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในเด็กทารกแรกเกิดที่มีผลการเพาะเชื้อเป็นบวก และเพื่อศึกษาความหลากหลาย (heterogeneity) ในแต่ละการศึกษาโดยการวิเคราะห์กลุ่มย่อยที่จำแนกตามอายุครรภ์และชนิดของการติดเชื้อ (sepsis) และเปรียบเทียบการทดสอบระดับโมเลกุลวิธีต่างๆ

วิธีการสืบค้น: 

ผู้ทบทวนได้ตรวจสอบอย่างเป็นระบบตามคำแนะนำโดยคณะทำงานของ Cochrane Diagnostic Test Accuracy Working Group เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2016 ได้ค้นหาฐานข้อมูลบรรณานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ (Cochrane Library, PubMed (จาก 1966), Embase (จาก 1982) และ CINAHL (จากปีพ. ศ. 2525)) conference proceedings of the Pediatric Academic Societies annual conference (ตั้งแต่ 1990), clinical trial registries (ClinicalTrials.gov) International Standard Randomised Controlled Trial Number (ISRCTN) และองค์การอนามัยโลก (WHO) International Clinical Trials Platform (ICTRP) Search portal), และ Science Citation Index. และได้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญในด้านที่ศึกษา

เกณฑ์การคัดเลือก: 

รวมการศึกษาที่ได้จากการศึกษาแบบไปข้างหน้าหรือแบบย้อนหลัง แบบกลุ่มหรือแบบตัดขวางซึ่งประเมินการทดสอบทางโมเลกุลในทารกแรกเกิดที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ (suspected sepsis) เมื่อเทียบกับวิธีการเพาะเชื้อ (มาตราฐานที่ใช้อ้างอิง, reference standard).

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนสองคนได้ทำการประเมินคุณภาพของการศึกษาและการคัดแยกข้อมูลอย่างเป็นอิสระ ผู้ทบทวนได้ทำการวิเคราะห์แบบ meta-analyses โดยใช้ bivariate และ hierarchical summary receiver operating characteristic (HSROC) modelและป้อนข้อมูลลงใน Review Manager 5.

ผลการวิจัย: 

มีการศึกษา 35 เรื่องที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ที่จะนำมาทบทวน และมีการประเมินความไว (summary estimate of sensitivity) เท่ากับ 0.90 (ช่วงความเชื่อมั่น 95% CI 0.82 ถึง 0.95) และ specificity เท่ากับ 0.93 (95% CI 0.89 ถึง 0.96) (หลักฐานคุณภาพปานกลาง) ผู้ทบทวนยังได้ตรวจสอบความหลากหลาย (heterogeneity) โดยการวิเคราะห์กลุ่มย่อยของประเภทการทดสอบ อายุครรภ์ ชนิดของ sepsis จำแนกตามอายุที่เริ่มมีการติดเชื้อ และความชุกของภาวะ sepsis ไม่พบคำอธิบายที่เพียงพอสำหรับความแตกต่างดังกล่าว (หลักฐานคุณภาพปานกลางถึงต่ำมาก) การทำ Sensitivity analyse โดยรวมการศึกษาที่วิเคราะห์ตัวอย่างเลือดและด้วยวิธีการที่ดีพบว่ามีผลเหมือนกัน (หลักฐานคุณภาพปานกลาง)

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล พญ. ดิษจี ลุมพิกานนท์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 3 สิงหาคม 2017

Tools
Information