การตรวจสุขภาพทางโทรศัพท์หรือทางอินเทอร์เน็ตเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับการตรวจสุขภาพแบบตัวต่อตัวหรือไม่

ประเด็นที่น่าสนใจ
การศึกษาที่พยายามตอบคำถามการวิจัยนี้ไม่ได้แสดงความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการตรวจสุขภาพทั้ง 2 ประเภท อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะแยกแยะความแตกต่างในอันตรายหรือประโยชน์ ในขั้นตอนนี้ เราไม่สามารถบอกได้ว่าการตรวจโรคหอบหืดทางโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับการปรึกษาหารือแบบตัวต่อตัวตามปกติหรือไม่

ที่มาและความสำคัญ
การติดต่อกับแพทย์หรือพยาบาลโรคหอบหืดเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญในการติดตามอาการและการใช้เครื่องพ่นยา เทคโนโลยีโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตอาจจะเป็นหนทางในการจัดการจำนวนผู้ป่วยโรคหอบหืดและภาวะสุขภาพระยะยาวอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น สิ่งนี้เรียกว่า 'การทบทวนจากระยะไกล' หรือการให้คำปรึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ และอาจเป็นวิธีที่ทำให้การติดต่อระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ง่ายขึ้น แต่เราไม่รู้ว่าจะดีเท่ากับการพบปะกันแบบเห็นหน้ากันหรือไม่

ลักษณะของการศึกษา
เราพบว่ามีการศึกษาทั้งหมด 6 เรื่อง ผู้เข้าร่วมโครงการรวม 2100 คน: การศึกษา 4 เรื่อง ผู้เข้าร่วมโครงการรวม 792 คน สามารถรวมผลลัพธ์หลักได้ และการศึกษาอื่นอีก 2 เรื่องได้รับการพิจารณาแยกกันเนื่องจากการออกแบบวิจัยแตกต่างกันมาก (n = 1213 และ n = 95) ผู้เข้าร่วมโครงการในการศึกษารวม 4 เรื่อง ส่วนใหญ่ใช้ยาเป็นประจำ และเราไม่รวมผู้ที่เป็นโรคหอบหืดรุนแรงหรือโรคปอดอื่นๆ เราศึกษาการศึกษาอื่นๆ อีก 2 เรื่องที่มีการออกแบบวิจัยแตกต่างกันมากกับการศึกษาหลักทั้ง 4 เรื่องแยกจากกัน: การศึกษา 1 เรื่องเปรียบเทียบการปฏิบัติของผู้ป่วยโรคหอบหืดได้รับทางเลือกในการตรวจสุขภาพทางโทรศัพท์หรือการฝึกปฏิบัติเมื่อมาที่คลินิกตามปกติ และอีก 1 เรื่องพิจารณา โดยเฉพาะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบผู้คนในขณะที่ลดปริมาณสเตียรอยด์ในช่องปาก เราค้นหาการศึกษาครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2015

ผลลัพธ์สำคัญ
เราไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพทางโทรศัพท์หรือทางอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะต้องใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในช่องปากสำหรับโรคหอบหืดมากกว่าหรือน้อยกว่าที่เห็นแบบตัวต่อตัว และเราก็ไม่แน่ใจในผลลัพท์ด้วยเหตุผลหลายประการ มีผู้ร่วมโครงการน้อยเกินไปที่มีโรคหอบหืดกำเริบทีมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาในแผนกฉุกเฉินหรือโรงพยาบาลหรือการไปพบแพทย์โดยไม่ได้นัดหมายเพื่อพบแพทย์ ที่จะสามารถบอกได้ว่าการตรวจสุขภาพทางไกลนั้นดีเท่ากันกับการปรึกษาหารือแบบตัวต่อตัว ดูเหมือนว่าจะไม่มีความแตกต่างในการควบคุมโรคหอบหืดหรือคุณภาพชีวิต แต่เราสามารถแยกความเป็นไปได้ที่การตรวจสุขภาพทางไกลจะไม่ดีเท่ากับการปรึกษาหารือแบบตัวต่อตัวในการวัดเหล่านี้ หลักฐานทั้งหมดถือว่ามีคุณภาพต่ำหรือปานกลาง การศึกษาที่ประเมินความเป็นไปได้ของประโยชน์ในการให้ทางเลือกแก่ประชาชนในการตรวจสุขภาพทางโทรศัพท์ พบว่า สิ่งนี้เพิ่มจำนวนผู้ที่ได้รับการตรวจสุขภาพมากขึ้น แต่ไม่ได้แสดงประโยชน์โดยรวมต่อผลลัพธ์ของโรคหอบหืด

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

หลักฐานจากการสุ่มในปัจจุบันไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการตรวจโรคหืดแบบตัวต่อตัวและแบบระยะไกลในแง่ของการกำเริบ การควบคุมโรคหอบหืด หรือคุณภาพชีวิต มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะแยกแยะความแตกต่างในด้านประสิทธิภาพ หรือเพื่อบอกว่าการตรวจโรคหอบหืดจากระยะไกลเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับการตรวจสุขภาพแบบตัวต่อตัว

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

โรคหอบหืดยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและการตายที่หลีกเลี่ยงได้ การตรวจสุขภาพเป็นประจำกับแพทย์เป็นสิ่งจำเป็นในการติดตามอาการและปรับยา

การบริการด้านสุขภาพทั่วโลกกำลังพิจารณาเทคโนโลยีโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตเพื่อจัดการจำนวนผู้ป่วยโรคหอบหืดและภาวะสุขภาพระยะยาวอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจช่วยปรับปรุงสุขภาพและลดภาระการบริการฉุกเฉินและผู้ป่วยในได้ การตรวจสุขภาพจากระยะไกลอาจเป็นวิธีที่ไม่สร้างความรำคาญและมีประสิทธิภาพในการรักษาการติดต่อกับผู้ป่วย แต่ไม่แน่ใจว่าการตรวจสุขภาพด้วยวิธีนี้มีประสิทธิภาพหรือไม่หรืออาจมีผลกระทบด้านลบที่ไม่คาดคิด

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการตรวจโรคหอบหืดจากระยะไกลเทียบกับการปรึกษาหารือแบบตัวต่อตัวตามปกติ

วิธีการสืบค้น: 

เราระบุการทดลองจาก Cochrane Airways Review Group Specialized Register (CAGR) จนถึงเดือน 24 พฤศจิกายน 2015 นอกจากนี้เรายังสืบค้น www.clinicaltrials.gov, the World Health Organization (WHO) trials portal และรายการอ้างอิงของการทบทวนวรรณกรรมอื่น ๆ และเราติดต่อผู้ประพันธ์การทดลองเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวบรวมนำเข้าการวิจัยแบบสุ่มที่มีกลุ่มแบบขนาน (RCTs) ในผู้ใหญ่หรือเด็กที่เป็นโรคหอบหืดซึ่งเปรียบเทียบการตรวจสุขภาพทางไกลที่ดำเนินการโดยใช้เทคโนโลยีทุกรูปแบบกับการรับคำปรึกษาตัวต่อตัวแบบมาตรฐาน เราคัดออกการศึกษาที่ใช้วิธีการแบบโทรเวชกรรม (telehealth) แบบอัตโนมัติซึ่งไม่รวมการติดต่อส่วนบุคคลกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เรานำเข้าการศึกษาที่รายงานเป็นบทความฉบับเต็ม บทคัดย่อเท่านั้นและข้อมูลที่ไม่ได้เผยแพร่

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คนคัดกรองผลการค้นหาและดึงข้อมูลความเสี่ยงของการมีอคติและข้อมูลตัวเลขโดยอิสระต่อกัน เราแก้ไขข้อขัดแย้งโดยวิธีฉันทามติ และเราติดต่อผู้ประพันธ์การศึกษาสำหรับข้อมูลที่ขาดหายไป

เราวิเคราะห์ข้อมูลชนิดแบ่งเป็นสองกลุ่ม (dichotomous) ด้วยค่า odds ratios (ORs) โดยที่ผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นหน่วยการวิเคราะห์ (unit of analysis) และข้อมูลต่อเนื่องด้วยความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (mean differences: MDs) โดยใช้ random-effects models เราให้คะแนนหลักฐานสำหรับผลลัพธ์ทั้งหมดโดยใช้แนวทาง Grading of Recommendations Assessment, Development and Evaluation (GRADE)

ผลการวิจัย: 

การศึกษา 6 เรื่อง รวมผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 2100 คน ตรงตามเกณฑ์การคัดเข้า: เรารวบรวมการศึกษา 4 เรื่อง รวม 792 คนในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพหลัก และนำเสนอผลการศึกษาของการศึกษาการนำไปใช้งานแบบกลุ่ม (n = 1213) และการศึกษา oral steroid tapering (n = 95 ) แยกต่างหาก คุณลักษณะประชากรพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรคหอบหืดมีความแปรปรวน แต่การศึกษาส่วนใหญ่คัดเลือกผู้ป่วยโรคหอบหืดที่ใช้ยาเป็นประจำ และไม่รวมผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือโรคหอบหืดรุนแรง มี 1 การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจร่างกายทั้ง 2 แบบเพื่อหาการลดขนาดยาสเตียรอยด์ในช่องปากในผู้ป่วยโรคหอบหืดที่เป็น severe refractory asthma และเราประเมินการศึกษานี้ว่าเป็นคำถามที่แยกต่างหาก การศึกษาไม่สามารถปกปิดและมีการถอนตัวออกระหว่างการศึกษาสูงถึง 4 ใน 6 การศึกษา ซึ่งอาจมีอคติต่อผลการศึกษา

เราไม่สามารถพูดได้ว่าผู้ที่ได้รับการตรวจสุขภาพทางไกลต้องการยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ทางช่องปากสำหรับการกำเริบของโรคหอบหืดมากกว่าผู้ที่ได้รับการตรวจแบบตัวต่อตัวเพราะช่วงความเชื่อมั่น (CIs) กว้างมาก (OR 1.74, 95% CI 0.41 ถึง 7.44; ผู้เข้าร่วมโครงการ 278 คน; การศึกษา 1 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพต่ำ) ในกลุ่มตรวจสุขภาพแบบตัวต่อตัว ผู้เข้าร่วมโครงการ 21 คนจาก 1000 คนมีอาการกำเริบที่ต้องใช้สเตียรอยด์ทางช่องปากในช่วง 3 เดือนเมื่อเทียบกับ 36 คน (95% CI 9 ถึง 139) จาก 1000 คน สำหรับกลุ่มตรวจทางไกล อาการกำเริบที่ต้องได้รับการรักษาในแผนกฉุกเฉิน (ED), การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ไม่ได้กำหนดไว้ เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนักที่จะพบว่าการตรวจสุขภาพทางไกลเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงไม่ได้รายงานแยกออกจากผลลัพธ์ของอาการกำเริบ

ไม่มีความแตกต่างในการควบคุมโรคหอบหืดที่วัดโดยแบบสอบถามการควบคุมโรคหอบหืด (Asthma Control Questionnaire: ACQ) หรือในด้านคุณภาพชีวิตที่วัดจากแบบสอบถามคุณภาพชีวิตโรคหอบหืด (Asthma Quality of Life Questionnaire: AQLQ) ระหว่างการตรวจสุขภาพทางไกลและแบบตัวต่อตัว เราสามารถแยกอันตรายสำคัญของการตรวจสุขภาพทางไกลสำหรับผลลัพธ์เหล่านี้ได้ แต่เราไม่ค่อยมั่นใจเพราะผลลัพธ์เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีอคติมากเพราะขาดการปกปิด (blinding)

การศึกษาการใช้งานที่ใหญ่กว่าซึ่งเปรียบเทียบกลุ่มปฏิบัติทั่วไป 2 กลุ่มแสดงให้เห็นว่าการให้บริการตรวจสุขภาพทางโทรศัพท์และผู้เข้าร่วมทางโทรศัพท์เชิงรุกเพิ่มจำนวนผู้ที่เป็นโรคหอบหืดที่ได้รับการทบทวน อย่างไรก็ตาม เราไม่ทราบว่าผู้เข้าร่วมเพิ่มเติมที่ได้รับการตรวจสุขภาพทางโทรศัพท์จะได้รับประโยชน์จากผลลัพธ์ของโรคหอบหืดหรือไม่

บันทึกการแปล: 

แปลโดย นายอนุวัตน์ เพ็งพุฒ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ 19 กรกฎาคม 2021

Tools
Information