การให้ยา opiod แบบต่อเพื่อรักษาการพึ่งพายาแก้ปวดด้วยฝิ่น

ข้อความสำคัญ

1. เมธาโดนอาจทำให้ผู้คนคงอยู่ในการรักษามากกว่าบูพรีนอร์ฟีน

2. ผู้คนรายงานว่ามีการใช้ opioid น้อยกว่าเมื่อใช้เมทาโดนเทียบกับ buprenorphine แม้ว่าการทดสอบปัสสาวะสำหรับการใช้ opioid จะไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม

3. การรักษาด้วย Buprenorphine แยยต่อเนื่อง อาจทำให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นยังคงอยู่ในการรักษาและอาจช่วยให้ผู้คนลดการใช้ opioid ได้ดีกว่าการรักษาที่ไม่ใช้ opioid

การพึ่งพายาแก้ปวด opioid คืออะไร

การใช้ยาฝิ่น (ยาที่ใช้รักษาอาการปวด) ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในบางส่วนของโลกตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 ด้วยการใช้งานที่เพิ่มขึ้น มีคนจำนวนมากขึ้นที่ต้องการการรักษาการติดยาฝิ่นที่ใช้เพื่อการรักษา ปัจจุบัน แนวทางการรักษาส่วนใหญ่อิงจากการวิจัยในผู้ที่ต้องพึ่งพาเฮโรอีน (ยาเสพติดรุนแรงชนิดหนึ่งของสาร opioid) ผู้ที่ใช้ยากลุ่มฝิ่นอาจแตกต่างจากผู้ที่ใช้เฮโรอีนในลักษณะที่สำคัญ เช่น มีอาการปวดเรื้อรังและอาการทางจิตมากกว่า

เราต้องการทราบอะไร

การทบทวนนี้พยายามเปรียบเทียบวิธีการรักษาให้ต่อเนื่องด้วย opioid agonist แบบต่างๆ (เช่น เมทาโดนหรือบูพรีนอร์ฟีนที่ให้เป็นเวลาอย่างน้อย 30 วันเพื่อช่วยให้บุคคลนั้นลดการใช้ยาที่ไม่ได้รับอนุญาต) สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพายาฝิ่น นอกจากนี้เรายังเปรียบเทียบผลลัพธ์จากการรักษาแบบต่อเนื่องกับการรักษาระยะสั้น เช่น การล้างพิษ (การกำจัดยาออกจากร่างกาย) หรือการรักษาทางจิตใจ (เช่น การบำบัดด้วยการพูดคุย การให้คำปรึกษา)

เราทำอะไร

เราตรวจสอบวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์จนถึงมกราคม 2022 เราพบการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม 8 ฉบับ (การศึกษาที่ผู้คนได้รับการจัดสรรแบบสุ่มให้เป็นหนึ่งในสองหรือหลายเงื่อนไขการรักษาหรือการควบคุม) ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่และวัยรุ่น 709 คนที่ต้องพึ่งพายาฝิ่น 70% ของผู้เข้าร่วมในการศึกษานี้เป็นเพศชาย และมีอายุเฉลี่ย 32.0 ปี ระยะเวลาเฉลี่ยของการศึกษาที่เปรียบเทียบการรักษาแบบต่อเนื่องด้วยฝิ่นแบบต่างๆ (การศึกษาสี่ฉบับที่เปรียบเทียบเมทาโดนกับบูพรีนอร์ฟีน) คือ 21 สัปดาห์ และระยะเวลาเฉลี่ยของการศึกษาที่เปรียบเทียบการรักษาแบบต่อเนื่อง (การศึกษา 4 ฉบับ ใช้บูพรีนอร์ฟีน) กับการขับสารพิษ สารต้านฝิ่น หรือทางจิตวิทยา คือ 14 สัปดาห์ มีการศึกษา 7 ใน 8 ฉบับ ดำเนินการในสหรัฐอเมริกา โดยมีการศึกษา 1 ฉบับ จากอิหร่าน

ผลลัพธ์หลักที่เราตรวจสอบคือการใช้ยาฝิ่นและออกจากการรักษาตั้งตั้งแต่แรกๆ

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาเจ็ดเรื่อง โดยการศึกษา 1 ฉบับ ไม่ได้รายงานแหล่งเงินทุน การศึกษา 5 ฉบับรายงานว่าบริษัทยาแห่งหนึ่งเป็นผู้จัดหายาให้

เราพบอะไร

เราพบว่าเมื่อเปรียบเทียบเมทาโดนกับบูพรีนอร์ฟีนแบบรักษาต่อเนื่อง เมธาโดนอาจทำให้มีคนอยู่ในการรักษาได้มากกว่าบูพรีนอร์ฟีน คนที่ได้เมทาโดนรายงานว่ามีการใช้ opioid รน้อยกว่าคนที่ได้ buprenorphine แม้ว่าการทดสอบปัสสาวะสำหรับการใช้ opioid จะพบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบการรักษษต่อเนื่องด้วย buprenorphine กับการรักษาอื่นๆ ที่ไม่ใช้ opioid เช่น การล้างพิษ ยาต้าน opioid เช่น naltrexone หรือการรักษาทางจิตวิทยา buprenorphine อาจให้คนคงอยู่ในการรักษามากกว่าและอาจช่วยให้ผู้คนลดการใช้ opioid ได้ดีกว่า

ข้อจำกัดของหลักฐานคืออะไร

โดยรวมแล้ว หลักฐานมีคุณภาพต่ำถึงปานกลาง การศึกษาทั้งหมดนำผู้คนเข้าสู่กลุ่มการรักษาแบบสุ่ม แต่ผู้เข้าร่วมและนักวิจัยรู้ว่าผู้เข้าร่วมใช้ยาชนิดใด ซึ่งอาจทำให้ผลลัพธ์มีความลำเอียงและลดคุณภาพของหลักฐาน ในการศึกษาบางฉบับ ผู้เข้าร่วมไม่ได้อยู่ในการศึกษาจนเสร็จ ส่งผลให้มีข้อมูลที่ขาดหายไปจำนวนมากซึ่งอาจทำให้ผลลัพธ์มีอคติ ในการศึกษาบางฉบับ มีผลลัพธ์ที่ขาดหายไในกลุ่มหนึ่งมากกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง การศึกษาส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกันในการออกแบบและรวบรวมผลลัพธ์ในลักษณะที่ทำให้พวกเขาเปรียบเทียบผลลัพธ์หลักของการใช้ฝิ่นและจำนวนผู้ทีอยู่ในการศึกษาจนเสร็จสิ้น

หลักฐานนี้เป็นปัจจุบันแค่ไหน

หลักฐานเป็นปัจจุบันจนถึงมกราคม 2022

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

มีหลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมากถึงปานกลางที่สนับสนุนการใช้ยารักษาด้วยยา agonist แบบต่อเนื่องในการรักษาสำหรับการพึ่งพายาฝิ่นเพื่อการรักษา เมธาโดนหรือบูพรีนอร์ฟีนไม่แตกต่างกันในผลลัพธ์บางอย่าง แม้ว่าผลลัพธ์ของการคงอยู่ในการรักษาและการรายงานการใช้สารด้วยตนเองนั้นสนับสนุนการใช้เมธาโดน การรักษาต่อเนื่องด้วยบูพรีนอร์ฟีนมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาแบบ non-opioid

เนื่องจากหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำมากถึงปานกลางโดยรวมและขนาดตัวอย่างที่มีขนาดเล็ก จึงมีความเป็นไปได้ที่การวิจัยเพิ่มเติมในอนาคตอาจเปลี่ยนแปลงผลที่พบนี้

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

มีความกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับอันตรายที่เกี่ยวข้องกับยา opioid รวมถึงการให้ยาเกินขนาดและการพึ่งพายา โดยมีความต้องการยาเพื่อการรักษาเพิ่มขึ้น ผู้คนที่ต้องพึ่งพายา opioids ดูเหมือนจะแตกต่างจากผู้ที่ใช้เฮโรอีนอย่างมีนัยสำคัญ แต่การวิจัยการรักษาด้วย opioid agonist ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการในผู้ที่ใช้เฮโรอีน

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของการรักษา โดยใช้ opioid agonist เพื่อรักษาการพึ่งพาฝิ่นที่ใช้ในการรักษา

วิธีการสืบค้น: 

เราปรับปรุงการค้นหาฐานข้อมูลต่อไปนี้เมื่อเดือนมกราคม 2022: Cochrane Drugs and Alcohol Group Specialized Register, CENTRAL, MEDLINE, ฐานข้อมูลอื่นๆ 4 แหล่ง และทะเบียนทดลอง 2 แหล่ง เราตรวจสอบรายการอ้างอิงของการศึกษาที่รวมไว้สำหรับการอ้างอิงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) ที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวม RCTs ในผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่ตรวจสอบการรักษาด้วย opioid agonist ที่ทำการเปรียบเทียบสองอย่างต่อไปนี้

1. opioid agonists แบบเต็ม (เมทาโดน, มอร์ฟีน, oxycodone, levo-alpha-acetylmethadol (LAAM) หรือโคเดอีน) เทียบกับ opioid aonists เต็มรูปแบบที่แตกต่างกันหรือ opioid agonists บางส่วน (buprenorphine) สำหรับการรักษาต่อเนื่อง

2. การรักษาด้วย opioid agonist ทั้งหมดหรือบางส่วน เทียบกับการรักษาด้วย non-opioid agonist (การล้างพิษ, opioid antagonist หรือการรักษาทางจิตโดยไม่ใช้ opioid agonist)

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

เราใช้วิธีมาตรฐานของ Cochrane

ผลการวิจัย: 

เราพบ RCT 8 ฉบับที่เข้าเกณฑ์การคัดเลือก (ผู้เข้าร่วม 709 คน) เราพบการศึกษา 4 ฉบับ ที่เปรียบเทียบการรักษาด้วยเมทาโดนและบูพรีนอร์ฟีนแบบให้ต่อเนื่อง และการศึกษา 4 ฉบับ ที่เปรียบเทียบการให้บูพรีนอร์ฟีนแบบต่อเนื่องกับบูพรีนอร์ฟีนแบบลดขนาด (นอกเหนือจากการรักษาทางจิตวิทยา) หรือการเปรียบเทียบการรักษาแบบไม่ใช้โอปิออยด์

เราพบหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำจากการศึกษาสามเรื่องเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเมทาโดนและบูพรีนอร์ฟีน เพื่อสนับสนุนเมธาโดนจากการรายงานด้วยตนเองเมื่อสิ้นสุดการรักษา (อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) 0.49, ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) 0.28 ถึง 0.86; 165 ผู้เข้าร่วม) และหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำ จากการศึกษา 4 ฉบับ พบว่ามีความแตกต่างในการสนับสนุนเมธาโดนในการคงอยู่ในการรักษา (RR 1.21, 95% CI 1.02 ถึง 1.43; ผู้เข้าร่วม 379 คน) เราพบหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำจากการศึกษา 3 ฉบับ ที่แสดงว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างเมทาโดนและบูพรีนอร์ฟีนในการใช้สารเสพติดที่วัดด้วยการตรวจคัดกรองยาในปัสสาวะเมื่อสิ้นสุดการรักษา (RR 0.81, 95% CI 0.57 ถึง 1.17; ผู้เข้าร่วม 206 คน) และหลักฐานที่มีความแน่นอนปานกลางจากการศึกษา 1 ฉบับ ที่พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในวันที่ใช้ opioid ที่รายงานด้วยตนเอง (ความแตกต่างเฉลี่ย 1.41 วัน, 95% CI 3.37 ต่ำกว่าถึง 0.55 วันสูงกว่า ผู้เข้าร่วม 129 คน) มีหลักฐานความเชื่อมั่นต่ำจากการศึกษา 3 ฉบับ ที่พบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างเมทาโดนและบูพรีนอร์ฟีนในเรื่องเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (RR 1.13, 95% CI 0.66 ถึง 1.93; ผู้เข้าร่วม 206 คน)

เราพบหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำจากการศึกษา 4 ฉบับ ที่สนับสนุนการรักษาด้วยบูพรีนอร์ฟีนแบบให้ต่อเนื่องมากกว่าการรักษาแบบไม่ใช้ฝิ่น ในแง่ของการทดสอบยาปัสสาวะที่เป็นบวกน้อยลงเมื่อสิ้นสุดการรักษา (RR 0.66, 95% CI 0.52 ถึง 0.84; ผู้เข้าร่วม 270 คน) แลหลักฐานความเชื่อมั่นะต่ำมาก จากการศึกษา 4 ฉบับ ที่ไม่พบความแตกต่างในการใช้ยาฝิ่นที่รายงานด้วยตนเองในช่วง 30 วันที่ผ่านมาเมื่อสิ้นสุดการรักษา (RR 0.63, 95% CI 0.39 ถึง 1.01; ผู้เข้าร่วม 276 คน) มีหลักฐานความเชื่อมั่นต่ำจากการศึกษา 3 ฉบับที่ไม่มีความแตกต่างในจำนวนวันของการใช้ยาฝิ่นที่ไม่ได้รับอนุญาต (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมาตรฐาน (SMD) −0.19, 95% CI −0.47 ถึง 0.09; ผู้เข้าร่วม 205 คน) มีหลักฐานความเชื่อมั่นปานกลางจากการศึกษา 4 ฉบับ ที่สนับสนุนการรักษาบูพรีนอร์ฟีนแบบต่อเนื่องมากกว่าการรักษาที่ไม่ใช้โอปิออยด์ในเรื่องการคงอยู่ในการรักษา (RR 3.02, 95% CI 1.73 ถึง 5.27; ผู้เข้าร่วม 333 คน) มีหลักฐานความเชื่อมั่นปานกลางจากการศึกษา 3 ฉบับ ที่ไม่มีความแตกต่างในผลข้างเคียงระหว่างการรักษาด้วยบูพรีนอร์ฟีนแบบต่อเนื่องและการรักษาด้วยยาที่ไม่ใช่ฝิ่น (RR 0.50, 95% CI 0.07 ถึง 3.48; ผู้เข้าร่วม 252 คน)

จุดอ่อนหลักในด้านคุณภาพของข้อมูลคือการใช้การออกแบบการศึกษาแบบ open-label และความแตกต่างของอัตราการติดตามระหว่างกลุ่มการรักษา

บันทึกการแปล: 

แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว Edit โดย ผกากรอง 26 พฤศจิกายน 2022

Tools
Information