การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กเพื่อวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมในระยะแรกจากโรคอัลไซเมอร์ในผู้มีสติปัญญาบกพร่องเล็กน้อยมีความแม่ยำแค่ไหน

เหตุใดการปรับปรุงการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ จึงมีวามสำคัญ

ความบกพร่องทางสติปัญญาคือการมีปัญหาในการจดจำ, การเรียนรู้ การมีสมาธิและการตัดสินใจ ผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย (MCI) มักมีปัญหาด้านความจำกว่าคนในวัยเดียวกัน แต่ปัญหาเหล่านี้ไม่รุนแรงพอที่จะจัดเป็นภาวะสมองเสื่อม การศึกษาพบว่าคนที่มี MCI และสูญเสียความจำมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ (ประมาณ 10% ถึง 15% ของผู้ป่วยต่อปี) กว่าคนที่ไม่มี MCI (1% ถึง 2% ต่อปี) ปัจจุบันมีเพียงวิธีเดียวที่เชื่อถือได้ในการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์คือการติดตามผู้มี MCI และประเมินการเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) อาจตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสมองที่บ่งบอกถึงการเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ การวินิจฉัย MCI ในระยะแรกจากโรคอัลไซเมอร์มีความสำคัญ เนื่องจากผู้ที่มี MCI จะได้รับประโยชน์จากการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเพื่อป้องกันหรือชะลอการเสื่อมด้านการรับรู้

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมนี้

เพื่อประเมินความแม่นยำของ MRI ในการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมในระยะแรกจากโรคอัลไซเมอร์ในผู้ที่มี MCI

ในการทบทวนนี้สิ่งที่ศึกษาคืออะไร

การวัดปริมาตรสมองส่วนต่าง ๆ ด้วย MRI การศึกษาส่วนใหญ่ (22 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 2209 คน) วัดปริมาตรฮิบโปแคมปัสซึ่งเป็นพื้นที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำเป็นหลัก

จุดประสงค์หลักของการทบทวนคืออะไร

มีการรวบรวมการศึกษา 33 เรื่อง ผู้เข้าร่วมที่มี MCI 3935 คน ติดตามเป็นเวลาสองหรือสามปีเพื่อดูว่าพัฒนาเป็นโรคโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ ประมาณหนึ่งในสามของพวกเขาเป็นโรคสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์

เราพบว่า MRI นั้น ยังไม่เพียงพอที่จะระบุว่าผู้มี MCI จะพัฒนาสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ การทำนายว่าผู้มี MCI ไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ผิด 81 คนจาก 300 คน (ผลลบลวง) และการทำนายว่าผู้มี MCI เป็นโรคอัลไซเมอร์ผิด 203 คนจากทั้งหมด 700 คน (ผลบวกลวง) จากผลการตรวจ ทำให้คนที่ได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดว่ามีผลลบ จะมั่นใจอย่างผิด ๆ และไม่เตรียมตัวรับมือกับโรคอัลไซเมอร์

ความน่าเชื่อถือจากผลของการศึกษานี้เป็นอย่างไร

รวบรวมการศึกษาที่มีการวินิจฉัยอัลไซเมอร์ โดยการประเมินผู้เข้าร่วมทั้งหมดที่มีเกณฑ์ทางคลินิกมาตรฐานหลังจากการติดตามสองหรือสามปี เรามีข้อกังวลระเบียบวิธีวิจัย เนื่องจากผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ได้รับการคัดเลือกจากศูนย์การแพทย์และศูนย์ส่งต่อผู้ป่วย และเรายังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการอ่านผล MRI นอกจากนี้ การศึกษายังดำเนินการแตกต่างกัน และใช้วิธีการที่แตกต่างกันในการเลือกผู้มี MCI และการทำ MRI

ผลการทบทวนนี้นำไปใช้กับใคร

ผลการศึกษาไม่ได้นำไปใช้กับผู้มี MCI ในชุมชน แต่ใช้เฉพาะกับผู้มี MCI ที่รักษาในคลินิกความจำหรือศูนยรับการส่งต่อ

การทบทวนนี้มผลกระทบอย่างไร

MRI เป็นการทดสอบอย่างเดียว ไม่ถูกต้องสำหรับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมในระยะแรกจากโรคอัลไซเมอร์ในผู้มี MCI เนื่องจากผู้เข้าร่วมหนึ่งในสามหรือสี ได้รับการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ผิด การวิจัยในอนาคตไม่ควรมุ่งเน้นไปที่การทดสอบอย่างเดียว (เช่น MRI) แต่มีการทดสอบหลายอย่าง เพื่อปรับปรุงการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ในระยะแรก

ความเป็นปัจจุบันของการทบทวนนี้

หลักฐานนี้เป็นข้อมูลล่าสุดจนถึงวันที่ 29 มกราคม 2019

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ปริมาตรของฮิปโปแคมปัสหรือ medial temporal lobe ซึ่งเป็นพื้นที่สมองที่ได้รับการศึกษามากที่สุด มีความไวและความจำเพาะต่ำในการตรวจด้วย MRI อย่างเดียว ควรเป็นการตรวจเพิ่มเติมสำหรับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมในระยะแรกเนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ในผู้มี MCI สอดคล้องกับแนวปฎิบัติสากลแนะนำให้ถ่ายภาพ เพื่อแยกสาเหตุที่ไม่เสื่อมหรือการผ่าตัดของความบกพร่องทางสติปัญญาและไม่วินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ ในมุมมองของการศึกษาคุณภาพต่ำส่วนใหญ่ที่รวมในการศึกษา การค้นพบของการทบทวนนี้ควรตีความด้วยความระมัดระวัง การวิจัยในอนาคตไม่ควรมุ่งเน้นไปที่การทดสอบอย่างเดียว แต่ควรทดสอบหลายอย่าง เพื่อปรับปรุงการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ในระยะแรก

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย (MCI) จากโรคอัลไซเมอร์ เป็นระยะเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ซึ่งมีอาการของความบกพร่องทางสติปัญญาและการทำงานยังไม่เข้าเกณฑ์สมองเสื่อม ในกลุ่มตัวอย่างทางคลินิก ผู้มี MCI ที่สูญเสียความทรงจำนั้น มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งมีอัตราความก้าวหน้าต่อปีจาก MCI ไปจนถึงโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 10% ถึง 15% เมื่อเทียบกับอัตราอุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์ 1% ถึง 2% ต่อปี

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินความถูกต้องในการวินิจฉัยด้วยการถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) สำหรับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมในระยะแรกจากโรคอัลไซเมอร์ในผู้มี MCI เปรียบเทียบกับการวินิจฉัยติดตามอาการทางคลินิกของสมองเสื่อมโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน (การตรวจสอบแบบล่าช้า)

การตรวจสอบที่มีความแม่นยำแตกต่างกัน เช่น การใช้การประเมินคุณภาพด้วยสายตาหรือการวัดปริมาตรรวมถึงการใช้ manual หรือโดยอัตโนมัติ (MRI) หรือระยะเวลาในการติดตามและอายุของผู้เข้าร่วม

MRI ได้รับการประเมินว่าเป็นการตรวจผู้มี MCI เพิ่มเติมนอกเหนือจากการวินิจฉัยทางคลินิก เพื่อปรับปรุงการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมในระยะแรกจากโรคอัลไซเมอร์ในผู้มี MCI

วิธีการสืบค้น: 

วันที่ 29 มกราคม 2019 เราสืบค้น Cochrane Dementia และ Cognitive Improvement's Specialised Register และฐานข้อมูล MEDLINE, Embase, BIOSIS Previews, Science Citation Index, PsycINFO และ LILACS นอกจากนี้เรายังค้นหาจากเอกสารอ้างอิงของการศึกษาที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมดจากการค้นหาทางอิเล็กทรอนิกส์

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เราพิจารณาการศึกษาแบบ cohort ติดตามผู้ได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเป็น MCI ทุกวัย เรารวมการศึกษาที่เปรียบเทียบความแม่นยำของการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ (การตรวจสอบแบบล่าช้า) ด้วย MRI เปรียบเทียบกับการวินิจฉัยด้วยอาการทางคลินิก เราไม่ได้คัดการศึกษาที่ติดตามระยะยาวออก เรารวมการศึกษาที่ใช้ทั้งการประเมินภาพเชิงคุณภาพหรือการวัดปริมาตรด้วย MRI ในการตรวจสอบว่ามีสมองฝ่อโดยดูจากสมองทั้งหมดหรือเฉพาะเจาะจง เช่น hippocampus, medial temporal lobe, lateral ventricles, entorhinal cortex, medial temporal gyrus, lateral temporal lobe, amygdala และ cortical grey matter

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

มีจำนวน 4 ทีมของผู้เขียนรีวิว 2 คน มีอิสระในการตรวจสอบหัวข้อและบทคัดย่อของบทความที่ระบุตามกระบวนการค้นหา 2 ทีมของผู้เขียนรีวิว 2 คนมีอิสระในการคัดเลือกบทความฉบับเต็ม การสกัดข้อมูลและแก้ไขความขัดแย้งโดยใช้ฉันทามติ ผู้เขียนรีวิว 2 คนทำการประเมินคุณภาพการศึกษาโดยใช้เครื่องมือ QUADAS-2 อย่างเป็นอิสระ เราใช้แบบจำลองคุณลักษณะการดำเนินงานตัวรับสรุปแบบลำดับชั้น (HSROC) เพื่อให้พอดีกับเส้นโค้ง ROC สรุปและเพื่อให้ได้การวัดโดยรวมของความแม่นยำสัมพัทธ์ในการวิเคราะห์กลุ่มย่อย นอกจากนี้เรายังใช้โมเดลเหล่านี้เพื่อประมาณค่าความไวและความเฉพาะเมื่อมีชุดข้อมูลเพียงพอ

ผลการวิจัย: 

เรารวมการศึกษา 33 เรื่องที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1999 ถึง 2019 โดยมีผู้เข้าร่วม 3935 รายซึ่ง 1341 คน (34%) ก้าวหน้าเป็นโรคอัลไซเมอร์และ 2594 (66%) ไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จากผู้เข้าร่วมที่ไม่ก้าวหน้าเป็นโรคอัลไซเมอร์ 2561 (99%) ยังคงมีอาการ MCI คงเดิมและ 33 (1%) ก้าวหน้าไปสู่ภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่น สัดส่วนเฉลี่ยที่เป็นสตรีคือ 53% และอายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมอยู่ระหว่าง 63 ถึง 87 ปี (มัธยฐาน 73 ปี) ระยะเวลาเฉลี่ยของการติดตามผลทางคลินิกอยู่ระหว่าง 1 ถึง 7.6 ปี (ค่ามัธยฐาน 2 ปี) การศึกษาส่วนใหญ่มีคุณภาพของระเบียบวิธีวิจัยไม่ดีนัก เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ออคติในการการเลือกผู้เข้าร่วมหรือการทดสอบดัชนีหรือทั้งสองอย่าง

การศึกษาส่วนใหญรายงานข้อมูลเกี่ยวกับปริมาตรของฮิปโปแคมปัส (ความไวเฉลี่ยรวม 0.73 (95%CI 0.64 ถึง 0.80); ความจำเพาะฉลี่ยรวม 0.71 (95%CI 0.65 ถึง 0.77); การศึกษา 22 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 2209 คน) หลักฐานนี้มีความเชื่อมั่นต่ำ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ออคติและความไม่สอดคล้องกัน

การศึกษา 7 เรื่อง มีรายงานข้อมูลเกี่ยวกับ medial temporal lobe ฝ่อ (ความไวเฉลี่ย 0.64 (95% CI 0.53 ถึง 0.73); ความจำเพาะเฉลี่ย 0.65 (95% CI 0.51 ถึง 0.76), ผู้เข้าร่วม 1077 คน และการศึกษา 5 เรื่องศึกษาเกี่ยวกับปริมาตร (ความไวเฉลี่ย 0.57 (95% CI 0.49 ถึง 0.65); ความจำเพาะเฉลี่ย 0.64 (95% CI 0.59 ถึง 0.70); ผู้เข้าร่วม 1077 คน) หลักฐานนี้มีความเชื่อมั่นต่ำ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ออคติและความไม่สอดคล้องกัน

การศึกษา 4 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 529 คน วิเคราะห์ปริมาตรของ entorhinal cortex ทั้งหมดและ การศึกษา 4 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 424 คน วิเคราะห์ปริมาตรของสมองทั้งหมด เราไม่ได้ประมาณการความไวและความจำเพาะของปริมาตรของทั้งสองพื้นที่ เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่กระจัดกระจายและแตกต่างกัน

เราไม่สามารถประเมินทางสถิติถึงปริมาตรของ lateral temporal lobe, amygdala, medial temporal gyrus, หรือ cortical grey matter ที่ประเมินในการศึกษาเล็ก ๆ เพียงงานเดียว

เราไม่พบหลักฐานถึงความแตกต่างระหว่างการศึกษาในความถูกต้องของปริมาตรฮิปโปแคมปัสทั้งหมด กับระยะเวลาการติดตามหรืออายุของผู้เข้าร่วม แต่เทคนิค MRI แบบแมนนวลนั้นดีกว่าเทคนิคอัตโนมัติในการเปรียบเทียบแบบผสม เราไม่ได้ประเมินความแม่นยำสัมพัทธ์ของปริมาตรของพื้นที่สมองที่แตกต่างกันที่วัดโดย MRI เนื่องจากมีการเปรียบเทียบทางอ้อมเท่านั้น มีการศึกษาต่างกันและความแม่นยำโดยรวมของทุกพื้นที่สมองอยู่ในระดับปานกลาง

บันทึกการแปล: 

แปลโดย เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Tools
Information