ยาปฏิชีวนะแบบป้องกันสำหรับการฉีกขาดของแผลฝีเย็บระดับ 3 และ 4 จากการคลอดทางช่องคลอด

ที่มาของปัญหา

สตรีส่วนใหญ่สามารถคลอดบุตรทางช่องคลอดได้โดยที่มีการฉีกขาดแผลฝีเย็บไม่รุนแรง

เมื่อสตรีมีการฉีกขาดของแผลฝีเย็บระดับรุนแรงจากการคลอดทางช่องคลอด มีตวามเชื่อว่าน่าจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น

คำถามวิจัย เพื่อประเมินว่าการให้ยาปฏิชีวนะแบบป้องกันสามารถป้องกันการติดเชื้อแผลฝีเย็บเปรียบเทียบกับการใช้ยาหลอก หรือไม่ได้ให้ยาป้องกัน และต้องการเปรียบเทียบการใช้ยาปฏิชีวนะแต่ละชนิด

สิ่งที่พบหลัก

จากการทบทวนพบว่ามี 1 การทดลอง ซึ่งมีสตรีในการศึกษา 147 คน ซึ่งการทดลองนี้ต้องการศึกษาประโยชน์ของการให้ยาปฏิชีวนะป้องกันแบบเป็นกิจวัตร (กลุ่มทดลอง) กับยาหลอก (กลุ่มควบคุม) ในสตรีที่มีการฉีกขาดของแผลฝีเย็บระดับรุนแรง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ในกลุ่มทดลองมีภาวะแทรกซ้อนที่แผลฝีเย็บน้อยกว่า เมื่อตรวจที่ 2 สัปดาห์หลังคลอด แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของภาวะแทรกซ้อนที่แผลฝีเย็บ ก่อนที่จะให้สตรีมาคลอดกลับบ้าน และตอนตรวจ 6 lัปดาห์หลังคลอด

การศึกษานี้ยุติการศึกษาก่อนที่ได้จำนวนตัวอย่างครบตามที่วางแผนไว้ล่วงหน้าและพบว่ามีอัตราการไม่มารับการตรวจติดตามสูง

คุณภาพของหลักฐาน

การศึกษาที่นำเข้ามาศึกษามีคุณภาพทางระเบียบวิธีวิจัยสูง ยกเว้นความไม่สมบูรณ์ในการติดตามผู้ป่วย คณะผู้วิจัยประเมินการลดลงของการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บที่มีการฉีกขาดระดับ 3 และ 4 จากการใช้ยาปฏิชีวนะแบบป้องกันเป็นหลักฐานที่มีคุณภาพระดับต่ำถึงปานกลาง อย่างไรก็ตามม ผลการศึกษานี้ขึ้นกับการทดลองขนาดเล็กเพียงหนึ่งชิ้นและมีอัตราการไม่่มาตรวจติดตามสูง งานวิจัยที่มากกว่านี้ยังเป็นสิ่งที่ต้องการ

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

แม้ว่าข้อมูลแนะนำว่าการใช้ยาปฏิชีวนะแบบป้องกันช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนของแผลฝีเย็บที่ขาดระดับ 3 และ 4 แต่อัตราการไม่มาติดตามผลการรรักษาสูง ผลการศึกษาควรแปลผลด้วยความระมัดระวังเนื่องจากเป็นผลของงานวิจัยชิ้นเล็กเพียง 1 ชิ้น

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

สตรีที่คลอดทางช่องคลอดจำนวนร้อยละ 1-8 มีการฉีกขาดของแผลฝีเย็บระดับที่ 3 (มีการฉีกขาดของกล้าเนื้อหูรูดทวารหนัก) และการฉีกขาดระดับ 4 (มีการฉีกขาดทะลุถึงเยื่อบุของไส้ตรง) และการฉีกขาดของแผลฝีเย็บพบบ่อยขึ้นเมื่อมีการช่วยคลอดด้วยคีมช่วยคลอด (ร้อยละ28) และการตัดแผลฝีเย็บแบบกึ่งกลาง

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะแบบป้องกันในการลดความทุพพลภาพในมารดาและผลข้างเคียงของการฉีกขาดของแผลฝีเย็บระดับ 3 และ 4 ระหว่างการคลอดทางช่องคลอด

วิธีการสืบค้น: 

คณะผู้วิจัยค้นหาแหล่งมูลจากทะเบียนของ the Cochrane Pregnancy and Childbirth Group 's Trial Register (ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2557) และเอกสารอ้างอิงจากวารสารที่ได้รับ

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบผลการใช้ยาปฏิชีวนะแบบป้องกันเปรียบเทียบกับการใช้ยาหลอกหรือไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในสตรีที่มีการขาดของแผลฝีเย็บระดับ 3 และ 4 ระหว่างการคลอดทางช่องคลอด

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนงานวิจัย 2 คน เป็นอิสระต่อกันในการประเมินรายงานการวิจัยเกี่ยวกับเกณฑ์การคัดเข้า และความเสี่ยงของอคติ สกัดข้อมูลและตรวจสอบความแม่นยำของงานวิจัย

ผลการวิจัย: 

คณะผู้ทบทวนได้พบ 1 งานวิจัย (มีจำนวนสตรี 147 คนจาก ที่วางแผนจำนวนตัวอย่างไว้จำนวน 310 คน) เปรียบเทียบผลของการใช้ยาปฏิชีวะนะแบบป้องกัน (ยา cefotetan หรือ cefoxitin ซึ่งเป็นยาcephalosporin รุ่นที่ 2 ขนาด 1 กรัม ฉีดเข้าเส้นเลือดดำครั้งเดียว)หลังคลอด เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนของแผลฝีเย็บฉีกขาดระดับ 3 และ 4 กับการใช้ยาหลอก

บันทึกการแปล: 

บทคัดย่อและบทสรุปในภาษาธรรมดาเรื่องนี้แปลโดย ประนอม บุพศิริ ภาควิชาสูติศาสตรและนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน

Tools
Information